ในช่วงสัปดาห์ที่ 4-11 พฤศจิกายน 2559 อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุตามแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศหลังอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความกังวลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ที่อาจทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมที่มีสูงขึ้น ประกอบกับตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่กลับไปสหรัฐอเมริกา ในส่วนของไทย กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50 %ต่อปีตามคาด โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติเป็นยอดขายสุทธิจำนวน 27,192 ล้านบาท สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามจะเป็นความคืบหน้าของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ทิศทางของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศ และการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงทุกช่วงอายุตามความกังวลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ที่จะทำให้เงินเฟ้อและหนี้ภาครัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมมีการปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยสรุปอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุคงเหลือ 2 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12 bps. มาอยู่ที่ 0.92% ต่อปี อายุคงเหลือ 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 32 bps. มาอยู่ที่ 1.56% ต่อปี และอายุคงเหลือ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 36 bps.มาอยู่ที่ 2.15% ต่อปี สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้จะเป็นนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่สถานการณ์การชุมนุมในสหรัฐอเมริกา แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมัน ผลกระทบของ Brexit ต่อ EU และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ สำหรับในสัปดาห์นี้ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเปิดให้มีการเสนอซื้อและเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ เอฟไอเอฟ 122 (KTFF122) อายุกองทุนประมาณ 6 เดือน ผู้ถือหน่วยจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 1.50% ต่อปี โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยตราสารที่คาดว่า KTFF122 จะลงทุน ดังนี้ ตราสารที่ลงทุน อันดับความน่าเชื่อถือ ของตราสาร/ผู้ออก ประมาณอัตรา ผลตอบแทน ของตราสาร (ต่อปี) สัดส่วนการลงทุน โดยประมาณ ผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับ โดยประมาณ (ต่อปี) ตราสารต่างประเทศ เงินฝากประจำ Bank of China (Macau Branch) เงินฝากประจำ Emirates NBD PJSC (Singapore Branch) เงินฝากประจำ Commercial Bank of Qatar เงินฝากประจำ Ahli Bank QSC เงินฝากประจำ First Gulf Bank PJSC A1/P-1/STABLE A3/P-2/ STABLE A2/P-1/STABLE A2/-/STABLE A2/P-1/STABLE 1.65% 1.70% 1.70% 1.95% 1.75% 20% 20% 20% 20% 20% 0.33% 0.34% 0.34% 0.39% 0.35% รวม 100 % 1.75% ประมาณการค่าใช้จ่าย (0.25%) ประมาณการผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน 1.50% ที่มา : ข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ และผู้ค้าตราสารหนี้ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ทั้งนี้ หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่โฆษณาไว้ กองทุนนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ที่สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนได้ และสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้บ้าง กองทุนนี้จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ (ระดับ 4) โดยเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศจะมีการทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดระดับความเสี่ยงของกองทุน (ระดับ 1 สะท้อนความเสี่ยงต่ำสุด และระดับ 8 สะท้อนความเสี่ยงสูงสุด) ซึ่งตราสารเป้าหมายจะให้ส่วนต่างผลตอบแทนที่ค่อนข้างจูงใจเมื่อเทียบกับการลงทุนเฉพาะพันธบัตร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ KTB ทุกสาขา / บลจ.กรุงไทย “ ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ”