Thailand Web Stat

Author name: WealthMagik

เงินเฟ้อ … ศัตรูถาวรทางการเงิน (1)

เงินเฟ้อ … ศัตรูถาวรทางการเงิน (1) ช่วงนี้เสียงบ่นเกี่ยวกับราคาสินค้าแพงดังขึ้นทุกวันๆ นะคะ หนักๆ ก็คงจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเช่น ราคาข้าวหอมมะลิช่วงต้นปีเรายังเห็นขายกันกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท ล่าสุด 30 กว่าบาทไปซะแล้ว คิดคร่าวๆ คือแพงขึ้นกว่า 70% นอกจากนั้นสินค้าอื่นๆ ก็พลอยยกขบวนขึ้นราคากันฝุ่นตลบเลยล่ะค่ะ (สำหรับน้ำมันซึ่งต้องจัดเตรียมให้พาหนะของเราบริโภคก็ไม่ต้องพูดถึงเพราะในปีที่ผ่านมาราคาขยับขึ้นไปแล้วกว่า 25%)…คิดแล้วกลุ้มกลุ้มใจๆๆ … ที่ว่ากลุ้มก็เพราะเมื่อหันมาดูในกระเป๋าตัวเองก็ต่างพากันพบว่าเงินเดือนที่เจ้านายขึ้นให้ปีที่แล้วแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เทียบไม่ได้กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอาซะเลย พูดง่ายๆ ว่าหาไม่ทันใช้นั่นเอง ในทางเศรษฐศาสตร์ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นเรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ และหากผู้บริโภคไม่สามารถสร้างรายได้ให้ทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็หมายถึงสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพทางการเงินนั่นเอง เมื่อภาวะเงินเฟ้อทำให้อำนาจซื้อลดลง หรือค่าเงินลดลง เราจึงต้องเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้ วิธีการง่ายๆ คือ “เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย” ในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายดิฉันไม่ห่วงเพราะเชื่อว่าหลายๆ ท่านเริ่มรัดเข็มขัดกันมาพักใหญ่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการเพิ่มรายได้กันดีกว่าค่ะ การเพิ่มรายได้อาจทำโดยการลงแรง เช่น ทำอาชีพที่สอง หรือ ทำงานพิเศษวันหยุด หรือ อีกทางหนึ่ง (ซึ่งง่ายและน่าสนใจกว่าโดยเฉพาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา) คือการลงทุน ใช้เงินต่อเงิน ซึ่งในที่นี้การฝากเงินกับธนาคารอย่างเดียวคงไม่เพียงพอค่ะ เพราะดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มต่ำ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และในขณะที่ยังมองไม่เห็นหนทางที่อัตราดอกเบี้ยจะเอาชนะเงินเฟ้อได้เลย …

เงินเฟ้อ … ศัตรูถาวรทางการเงิน (1) Read More »

มารู้จักกับ KYC และ CDD

มารู้จักกับ KYC และ CDD         ปัจจุบัน “ภัยก่อการร้าย” ถือเป็นภัยคุกคามที่ระบาดไปทั่วโลก หลายประเทศจึงหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ประเทศไทยของเราก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ในระดับคณะรัฐมนตรีซึ่งได้มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ที่เสนอโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. และในระดับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ต้องไปออกประกาศกฎเกณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ตนเองกำกับดูแล ซึ่งก็รวมถึง ก.ล.ต. ในฐานะผู้กำกับดูแลการทำธุรกรรมในตลาดทุน         โดย ก.ล.ต. ได้ออกประกาศซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2550 กำหนดเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (ขอเรียกรวม ๆ ว่า บล. นะครับ) ต้องมีวิธีปฏิบัติที่จะทำให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงคอยสอดส่องเพื่อดูว่า มีใครที่ประสงค์ไม่ดีจะมาใช้ตลาดทุนเป็นช่องทางในการฟอกเงินหรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือไม่ ถ้าสงสัยว่ามี ก็ต้องรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยสงสัยต่อ ปปง. ทันที ซึ่งกระบวนการที่จะทำให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่ บล. ต้องทำความรู้จักกับลูกค้า (หรือ Know your Client – KYC) และการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (หรือ Client Due Diligence – CDD) นั่นเอง         จริง …

มารู้จักกับ KYC และ CDD Read More »

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง         มีผู้ลงทุนมาบ่นที่ ก.ล.ต. ว่าสนใจกองทุนรวมของ บลจ. แห่งหนึ่ง แต่จด ๆ จ้อง ๆ อยู่เพราะเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนสูงมาก มากกว่า 1% อีก เลยต่อว่า ก.ล.ต. ว่าทำไมปล่อยให้คิดกันแพงขนาดนี้เทียบกับค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแล้วไม่เห็นมากมายอะไรขนาดนี้         เรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เรียกเก็บกับผู้ถือหน่วยนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักการเปิดเผยข้อมูล ก.ล.ต. ไม่ได้เข้าไปกำหนดขั้นต่ำหรือกำหนดเพดานไว้ เพราะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด บลจ. แต่ละแห่งจะคิดแค่ไหนก็ต้องเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจน ค่าธรรมเนียมโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ         1) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมตอนขาเข้า (หรือที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน) หรือขาขาย (เรียกว่าค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน) บางแห่งอาจมีโปรโมชัน เช่น ถ้าซื้อหน่วยลงทุนตอนทำ IPO ก็อาจยกเว้นค่าธรรมเนียมขาเข้าให้ก็ได้ หรือถ้าเป็นตอนจะขายคืนก็อาจยกเว้นสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ก็ได้ หรือจะเป็นค่าธรรมเนียมตอนโอนหน่วยลงทุน สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน (เปลี่ยนกองภายใต้ บลจ. แห่งเดียวกัน) หรือค่าปรับถ้าขายคืนก่อนครบกำหนดเวลาที่ บลจ. …

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง Read More »