หลังจากที่ได้เขียนเกี่ยวกับกองทุนรวมไปบ้าง วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับข้อมูลกองทุนรวมใน WealthMagik บ้างนะครับ จะได้เป็นข้อมูลสำหรับนักลงทุนมือใหม่ หรือ ผู้ที่เข้ามาใช้ WeathMagik สำหรับการที่ต้องมีเป็น Episode เพราะตั้งใจแบ่งการอธิบายข้อมูลในแต่ละรอบ เพราะข้อมูลที่มีเกี่ยวกับกองทุนรวมในนี้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ สำหรับ Episode แรกนี้ จะเริ่มที่หน้า "รายละเอียดกองทุน" ( FundProfile ) ครับ
สำหรับการเข้าถึงหน้านี้ มีวิธีเข้าหลักๆ ด้วยกัน 2 วิธีนะครับ
– เข้าไปที่หน้า FundhouseList จะแสดง บลจ. เพื่อให้เราเลือก หลังจากนั้นระบบจะนำเข้า สู่หน้า FundhouseProfile ในหน้าดังกล่าวจะแสดง กองทุนรวม ทุกกองทุนของ บลจ. นั้นๆ โดยแยกตามประเภทนะครับ และจากตรงนี้เอง คลิกที่ชื่อ หรือ ตัวย่อกองทุนรวม ที่สนใจ ก็จะเข้าสู่หน้า FundProfile ครับ
– ในหน้าต่างๆ ที่มีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนรวมที่มี Link ชื่อ กองทุนรวม หรือชื่อ ตัวย่อกองทุนรวม ก็จะสามารถเข้าถึงหน้า รายละเอียดกองทุน ของกองทุนรวมนั้นๆ ได้ทันทีเช่นกันครับ
และก็มาถึงส่วนเนื้อหาหลักสำหรับบทความนี้เลย นั่นก็คือ ข้อมูลในหน้า รายละเอียดกองทุน จะอธิบายในข้อมูล แต่ละข้อโดยอ้างอิงจากภาพเลยนะครับ ( ข้อมูลกองทุนรวมที่นำมาเป็นตัวอย่างไม่ได้ตั้งใจโฆษณานะครับ ^^ เพียงแต่ว่าเข้าไปในหน้า TopClick แล้วเห็นว่าชาว WealthMagik ให้ความสนใจมากที่สุด เลยเอามาเป็นตัวอย่างครับ )
– ชื่อกองทุน สำหรับชื่อกองทุนก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก ก็คือชื่อของ กองทุนรวม ตรงๆครับ
– รหัสกองทุน บางคนอาจจะเรียกว่าตัวย่อกองทุน หรืออาจจะเรียกว่า SYMBOL เพื่อให้อ้างอิง ได้ง่าย นักลงทุนหลายๆท่านก็อาจจะใช้ รหัสกองทุน ในการค้นข้อมูลครับ
– ประเภทกองทุน กองทุนรวม ปกติแล้วจะมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งจะเป็นตัวบอกได้คร่าวๆ ว่า นโยบายของกองทุนรวมนั้นๆ น่าจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหน หรือมีแนวทาง การลงทุนแบบใดครับ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนรวมตราสารทุน
– ระดับความเสี่ยงกองทุน ระดับความเสี่ยงกองทุนรวมจะแบ่งระดับตั้งแต่ 1 – 8 นะครับ โดยเป็นระดับ ความเสี่ยงที่ทาง บลจ., กลต. และ AIMC ตกลงร่วมกัน เพื่อให้นักลงทุน รับทราบ เบื้องต้นก่อนทำการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลนั่นเอง
– Morningstar Rating เป็นค่า Rating โดยภาพรวมสำหรับกองทุนรวมนั้นๆ ซึ่งจัดอันดับโดยบริษัท Morningstar ซึ่งเป็นบริษัททางด้านการจัดการกับข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อนักลงทุนครับ โดยเบื้องต้นจะทำการจัดอันดับให้กับ กองทุนรวม ที่มีอายุมากกว่า 3 ปี เพราะฉะนั้น ถ้าพบว่า Not Rated ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการคิดเพิ่มเติมสำหรับ ตัวนี้ สามารถอ่านได้ที่ MstarRatingMethodology.pdf
– นโยบายการจ่ายเงินปันผล ตรงไปตรงมาครับ สำหรับนักลงทุนที่สนใจการลงทุน โดยเน้นการปันผล สามารถดูได้ จากตรงนี้เลยครับว่า กองทุนรวมนั้นๆ มีนโยบายการจ่ายปันผล หรือไม่
– Legal Structure ไว้บอกประเภทของกองทุนว่า เป็นกองทุนเปิด หรือกองทุนปิดครับ แต่ถ้าลองดูที่กองทุน รวมที่เป็นประเภท กำหนดอายุโครงการ หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าทำไมถึงขึ้นเป็น Open Ended Investment Company ผมเลยสอบถามพี่ๆ มาได้ความว่า มันก็ขึ้น กับนิยามครับ กองทุนเองอาจจะนิยามเป็นว่า กองทุนเปิด แบบกำหนดอายุโครงการ เลยทำให้เป็นรูปแบบของกองทุนเปิดไปซะอย่างนั้น ข้อมูลตัวนี้ อาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ เท่าไหร่ครับ
– วันที่จดทะเบียนกองทุน เป็นวันที่ระบุว่า กองทุนรวมนี้เริ่มจดทะเบียนเมื่อไหร่ เพื่อเป็นข้อมูลบอกนักลงทุนว่า กองทุนรวม กองนี้จัดตั้งมานานแค่ไหนแล้ว อาจจะช่วยเรื่องความน่าเชื่อถือของกองทุน นั้นๆ ซึ่งอาจจะต้องดูร่วมกับข้อมูลอื่นประกอบด้วย
– รอบระยะเวลาบัญชีสิ้นเดือน ไว้บอกว่า กองทุนนี้มีรอบการปิดบัญชีประจำปีที่เดือนไหนครับ อาจจะเป็นประโยชน์ กับนักลงทุนที่เน้นปันผล เช่น กองทุนนี้อาจจะมีนโยบายจ่ายปันผลไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี ถ้าวันที่เราจะซื้อ อยู่ในรอบบัญชี แล้วมีการปันผลครบ 4 ครั้งไปแล้ว ก็อาจจะบอกได้ว่า กองทุนนี้จะไม่ปันผลแล้วในรอบบัญชีนี้ หรือถ้าปันไป 1 ครั้ง อาจจะบอกได้ว่า กองทุนนี้ อาจจะทำการปันผลอีกในรอบดังกล่าว เป็นต้น
– กลยุทธ์การลงทุน ตรงนี้เป็นข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจครับ เพราะเป็นข้อมูลที่สรุปนโยบายการลงทุนของ กองทุนรวมแบบคร่าวๆ ช่วยให้เรากรองได้ว่า นโยบายดังกล่าว เป็นทิศทางที่เรา สนใจลงทุน หรือไม่ เช่น กองทุนรวม บางกลุ่ม อาจจะเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และเราเองอาจจะเห็นว่า อนาคตของพลังงานกำลังจะไปแนวโน้มที่ดี กองทุนนี้ก็ อาจจะน่าสนใจ เป็นต้นครับ
– กราฟ NAV เป็นกราฟที่แสดงข้อมูล NAV ของกองทุน เพื่อดูแนวโน้ม หรือผลการดำเนินการ ของกองทุนครับ ซึ่งใต้กราฟยังมีให้เลือกช่วงเวลาที่เราต้องการดูได้ครับ
– NAV ล่าสุด มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนล่าสุด ควรจะดูร่วมกับข้อมูล ณ วันที่ ด้านล่างข้อมูล ด้วยครับ ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าเข้าดู ณ วันนี้ ข้อมูลควรจะเป็นวันทำการก่อนหน้า 1 วัน แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศด้วย วันที่ล่าสุด อาจจะขึ้นกับวันทำการของ ต่างประเทศนะครับ
– NAV เปลี่ยนแปลง มูลค่าการเปลี่ยนแปลงของ NAV คือนำ NAV ล่าสุด – NAV ก่อนหน้า 1 วันทำการ
– ราคาซื้อคืน อาจจะอ่านแล้วงงๆ นิดหน่อยนะครับ จริงๆ คำว่าซื้อคืน ในที่นี้ ก็คือ บลจ. ซื้อคืน จากเรา หรือ ถ้าเราขายกองทุนดังกล่าว จะขายได้ที่ราคานี้ครับ
– ราคาขาย กลับกันกับราคาซื้อคืนครับ นั่นก็คือราคาที่ บลจ. ขายเรา หรือ ราคาที่เราใช้ซื้อกองทุน จาก บลจ. ครับ
– มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมสุทธิของกองทุนรวมครับ แปลง่ายๆ ว่า ถ้าเอาหน่วยลงทุน ทั้งหมดมาขายออกไป จะมีมูลค่าดังกล่าวครับ แต่ถ้าเอาตามวิธีคิดจริงๆ ก็จะเป็น oมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด + รายได้ค้างรับ + เงินสด – หนี้สิน
เห็นมั้ยครับ นี่เพียงแค่ Episode เดียวนะครับ ยังมีข้อมูลน่าสนใจขนาดนี้เลย มาตามดูต่อใน Episode ถัดไป ซึ่ง คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักลงทุนไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่ใน กองทุนรวม กับ อะไร ๆ ใน WealthMagik ( Episode 2 – “ พอร์ตการลงทุน ” ) ครับ ^^
…Little Investor