Thailand Web Stat

NAV คืออะไร ? ทำไมต้องรู้ก่อนซื้อกองทุน

NAV
NAV

NAV หรือ Net Asset Value (มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ) คือมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนที่มี หักหนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุน ซึ่ง NAV จะบอกถึงมูลค่าที่แท้จริงของกองทุนรวมตามราคาตลาดในแต่ละวัน หรือใช้อ้างอิงเป็นราคาซื้อ-ขาย กองทุนและราคาปิด ณ สิ้นวันทำการ นั่นเอง

NAV คำนวณยังไง ?

จะใช้มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด และเงินสด หักด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆของกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดการ และหนี้สินของกองทุนรวม กล่าวคือ เป็นราคามูลค่าทรัพย์สินที่ได้สะท้อนค่าใช้จ่ายต่างๆของกองทุนทุกอย่างไปแล้ว ซึ่งใช้ในการคำนวณผลตอบแทนของกองทุนต่อไป

NAV

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) = มูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนมี* – หนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุน

*มูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนมี คือ มูลค่าทรัพย์สินตามราคาตลาด+ผลตอบแทนสะสม+เงินสด

แต่ถ้าหากเป็นราคาที่ทาง บลจ. เปิดเผยให้นักลงทุนทราบ ณ สิ้นวันทำการ จะประกาศเป็น มูลค่าต่อหน่วยลงทุนซึ่งมูลค่าต่อหน่วยลงทุนนี้อาจสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ แล้วแต่ภาวะการลงทุนในแต่ละวัน
NAV ต่อหน่วย = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) / จำนวนหน่วยลงทุน

การรู้ NAVต่อหน่วย ก่อนซื้อกองทุน

  1. กำหนดราคาซื้อขาย: NAV ใช้กำหนดราคาที่นักลงทุนจะซื้อหรือขายหน่วยลงทุนในกองทุน ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ราคาต่อหน่วยของกองทุนนั้นได้ว่าเป็นยังไงเมื่อเทียบกับกองทุนรวมอื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน
  2. วัดผลการดำเนินงาน: ราคา NAV เป็นตัวเลขที่สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ดีที่สุด การติดตาม NAV จะช่วยให้คุณเห็นการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ากองทุนในระยะเวลาต่าง ๆ เพื่อประเมินว่ากองทุนนี้มีผลการดำเนินงานดีแค่ไหนเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น
  3. ประเมินความเสี่ยง: การเปรียบเทียบ NAV กับประวัติที่ผ่านมา ช่วยให้นักลงทุนประเมินว่ากองทุนมีความเสี่ยงเพียงใด และสามารถพิจารณาว่าเวลานี้เหมาะสมที่จะลงทุนหรือไม่

ข้อควรระวัง

จริงอยู่ว่า ราคา NAV ต่อหน่วย เป็นตัวที่นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ แต่ราคา NAV ไม่ได้บอกถึงราคาที่แท้จริงของหน่วยลงทุนเสมอไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง เงื่อนไขการลงทุน

  1. ราคา NAV ต่ำ ไม่ได้แปลว่าถูกเสมอไป และราคา NAV สูง ก็ไม่ได้แปลว่าแพงเสมอไป เช่น
    – NAV ต่ำ อาจเกิดจาก ราคาสินทรัพย์ที่กองทุนถือครองอยู่ในช่วงขาลง หรือ นโยบายของกองทุนอาจเน้นไปที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็เป็นไปได้
    – NAV สูง อาจจะเป็นเพราะกองทุนที่ไม่จ่ายปันผลจะมีราคาสูงกว่า กองทุนที่จ่ายปันผลโดยมีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน
  2. ราคา NAV เป็นตัวสะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนก็จริง แต่โดยทั่วไปจะแสดงเป็นผลการดำเนินงานย้อนหลัง ซึ่งผลการดำเนินงานของกองทุนในอดีตไม่สามารถการันตีถึงผลตอบแทนในอนาคตได้ ฉะนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่