ออมดอลลาร์ช่วยชาติ กองทุนรวมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ( ตอนที่ 3 ) ออมดอลลาร์ช่วยชาติ กองทุนรวมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ( ตอนที่ 3 )
ปัญญา จรรยารุ่งโรจน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Global Markets ธนาคาร HSBC & Citibank ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญด้านตลาดเงิน มีความผูกพัน และศึกษาเชิงลึกในตลาดเงินมากว่า35 ปี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Wealth Management System Limited อธิบายถึงรายละเอียด “อธิปไตยตลาดเงิน” ที่ไทยถูกลิดรอนจากมหาอำนาจตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ใน 4 เรื่องหลักๆ ที่ได้แก่
ค่าเงินบาทที่แข็งจนยากที่สินค้า และบริการของไทยจะแข่งขันในตลาดโลก ผลพวงจากนักเก็งกำไรต่างชาติที่ปั่นค่าเงินบาทได้ไม่ยาก ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ค่าเงินบาทของวันที่ 30 ธันวาคมต่อเนื่องถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 แข็งค่าขึ้นกว่า 1.3 % ในเวลาชั่วข้ามคืนที่ไทยหยุดฉลองวันสิ้นปี
นอกจาก ความได้เปรียบเหนือคนไทยด้านภาษีดอกเบี้ยหัก ณ ที่จ่าย จากการถือครองพันธบัตรรัฐบาล ต่างชาติยังสามารถเข้ามา เล่นกับ Yield curve ของไทยได้โดยเสรีทั้งเงินสด (Cash) และตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) สะท้อนจากปริมาณธุรกรรมครึ่งปีหลังของปี 2562 ที่มีต่างชาติทำธุรกรรมอนุพันธ์ดอกเบี้ยรวม 650,000 ล้านบาท (โดยเก็งกำไรจากดอกเบี้ย : Non Deliverable IRS) ขณะที่ไทยทำธุรกรรมไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ยเพียง 100,000 ล้านบาท ซึ่งต่างกันถึง 6 เท่า ส่งผลให้ ไทยเสียความสามารถในการบริหาร Yield curve ของตัวเองตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เมื่อไทยไม่สามารถควบคุม Yield curve ได้ การกำหนดดอกเบี้ยนโยบายก็ย่อมมีปัญหา เพราะมักจะกำหนดให้สอดคล้องตามตลาดอนุพันธ์ที่ต่างชาติเป็นผู้เล่น แทนที่ประเทศไทยจะเป็นผู้ชี้นำตลาดด้วยดอกเบี้ยนโยบาย ท้ายที่สุดผู้ประกอบการ และนักลงทุนไทยก็จะเสียประโยชน์ และส่งผลกระทบถึงประสิทธิผลของการใช้นโยบายการเงินของไทย (MonetaryPolicy) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยปริยาย
15 ปีที่ผ่านมา ไทยได้สะสมเงินออมส่วนเกินจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 230,000 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกัน เรายังได้สะสมเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้นถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ ดังนั้น ไทยจึงมีฐานะทางการเงินระหว่างประเทศที่มั่นคงมาก เป็นประเทศเจ้าหนี้เพราะมีดอลลาร์มากกว่าหนี้ดอลลาร์ภาคเอกชน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์ของไทยถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูง ผลตอบแทนจึงต่ำ เช่น พันธบัตรอเมริกา ขณะที่ภาคเอกชนต้องกู้เงินดอลลาร์ และจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า
หาก นำเงินออมดอลลาร์ส่วนเกินเหล่านี้มาปล่อยกู้ให้ธุรกิจเอกชนไทยโดยตรง เงินดอลลาร์และปริมาณธุรกรรมการเงิน ก็จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย จะเป็นการพัฒนาตลาดเงินไทยให้แข็งแกร่งขึ้นสร้างรายได้ สร้างงานภาคการเงิน ปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินและ การเป็นผู้นำในภูมิภาค CLMVT และด้วยเงินออมส่วนเกินมหาศาลนี้ จะทำให้เราอยู่ในฐานะผู้เขียนกฎเกณฑ์การเงินภูมิภาคนี้ ดังเช่นมหาอำนาจที่ออกแบบ และเขียนกฎระบบการเงินโลกเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับตนเอง
ยุทธวิธีทวงคืนอธิปไตยกลไกตลาดเงินตลาดทุนไทย ดังกล่าวข้างต้น คือ การสร้างรากฐานที่เข้มแข็งทางการเงินและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงห้ามปล่อยให้แบงก์ชาติเป็นด่านหน้ารบอยู่เพียงลำพังแต่ต้องรวมพลังทั้งภาครัฐ และเอกชน ขจัดภัยสงครามรูปแบบใหม่ ที่เริ่มจากโจมตีค่าเงินโดยมหาอำนาจที่ออกแบบกติกาที่ได้เปรียบมาช้านาน ต้องใช้ “กระสุนเงินออมไทย” ที่มีอยู่มหาศาลอย่างชาญฉลาด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนในชาติ
การไม่ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามารุกรานค่าเงินบาทได้ง่ายๆ อย่างที่ผ่านมา ด้วยการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน คือ ให้ความสำคัญกับการแก้ที่โครงสร้างของปัญหา ซึ่งก็คือ ค่าเงินบาทที่แข็งเกินความจำเป็นต้องปรับมาตรการที่เอื้อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนอย่างเสรีให้รัดกุมขึ้น มีการกรองให้เหมาะสมมากขึ้นเลิกยึดติดกับแนวความคิดเดิมๆ ในยุคที่ประเทศขาดเงินออมที่ต้องจำยอมรับเงื่อนไขการเปิดเสรีให้ต่างชาติ ในช่วงวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด -19 มีเงินตราต่างชาติไหลออกจากประเทศไทยเป็นจำนวนมากจึงเป็นโอกาสดีที่จะรีบวางและดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมรับมือการเก็งกำไรระรอกใหม่
ด้วยที่เม็ดเงินในระบบการเงินไทยมีมากกว่าเงินของนักโจมตีค่าเงินต่างชาติมาก ไทยต้องเลิกเป็นเบี้ยล่าง ต้องรีบ ทวงคืนอธิปไตยกลไกตลาดเงินกลับมาโดยไม่ชักช้าใช้กระสุนเงินออมที่เรามีมากกว่ามาก ใช้องค์ความรู้ระบบเศรษฐกิจไทยที่เหนือกว่าจำเป็นต้องมีนโยบายภาครัฐที่หนุนช่วยยุทธศาสตร์สงครามรูปแบบใหม่ สงครามการเงินที่แพ้ไม่ได้ เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนในประเทศจักต้องร่วมมือร่วมใจกัน เพราะเดิมพันสูงด้วยอนาคตของลูกหลานไทย
การรักษา ค่าเงินให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมจะเอื้อให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลก นำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลแพ้ชนะของสงครามรูปแบบใหม่ สงครามค่าเงินที่มุ่งรบทางเศรษฐกิจจึงสำคัญอย่างยิ่งยวด จึงไม่ใช่ภาระของแบงก์ชาติหน่วยงานเดียว ค่าเงินบาทจะต้องสอดคล้องกับดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในระดับ 38.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และดัชนีค่าเงินที่แท้จริง (REER) ที่ 35 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ไม่ใช่อยู่ที่ 30 – 31 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562
จุดอ่อนของตลาดหุ้นไทย กล่าวคือ การถูกครอบครองโดยนักลงทุนชนชั้น Elite ที่มีอยู่ไม่กี่แสนคน จากพลเมือง 60 กว่าล้านคน โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ เพราะประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนา “ตราสารการลงทุน”ที่หลากหลายสำหรับคนทั่วไป เพื่อการกระจายความเสี่ยงที่แต่ละบุคคลพึงรับได้ ทำให้ประชาชนต้องแสวงหาการลงทุนรูปแบบอื่น เช่น แลกธนบัตรของต่างประเทศเก็บไว้ หรือการซื้อทองคำ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่เอื้อต่อการนำเงินออมมาพัฒนาประเทศแถมก่อปัญหา
ปัจจุบันการที่กำหนดราคาซื้อขายทองเป็นสกุลเงินบาทจากราคาทองอ้างอิงที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์ ทำให้เงินบาทผันผวนไปกับทองคำโดยไม่จำเป็น จึงควรให้คนไทยสามารถ ซื้อ / ขายทองคำเทียบกับดอลลาร์โดยตรงไม่ต้องแปลงเป็นเงินบาททันทีถ้าเจ้าของทองไม่ชอบดอลลาร์จึงค่อยเปลี่ยนเป็นบาท ก็จะช่วยลดความผันผวนของค่าเงินไทยจากการกำหนดราคาทองเป็นเงินบาท
ถึงเวลาที่นักบริหารกองทุนเงินออมในประเทศ ควรเปิด “กองทุนเงินฝากสกุลเงินดอลลาร์” ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนหุ้น ช่วยผู้ออมกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน บริหารการซื้อขายค่าเงินอย่างมืออาชีพ เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่า และช่วยนักลงทุนรายย่อยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนเงินด้วยอัตราที่สูงในระบบธนาคาร ( Bid / Offer Spread )
ทั้งยังสามารถเก็บเงินออมไว้ในประเทศแทนที่จะส่งออก “เงินออมของไทย” ไปพัฒนาเศรษฐกิจนอกประเทศ โดย “กองทุนออมดอลลาร์” นี้ จะทำหน้าที่คล้ายกับเงินถุงแดงของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่เคยช่วยชาติให้รอดพ้นวิกฤติจากมหาอำนาจฝรั่งเศสมาแล้ว ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการผลักดัน และส่งเสริมให้ “กองทุนออมดอลล่าร์” เงินออมถุงแดงภาคเอกชน เป็นเสาหลักการพัฒนา และปกปักษ์รักษาประเทศในยุด 4.0 อีกครั้ง
อดีตต้องจดจำ ฝรั่งเคยรังแก วันนี้เราได้ดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากควรน้อมรับพระราชดำริ “เงินถุงแดง” อันประเสริฐของล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 เป็นแนวทาง โดยการเก็บสะสมเงินออมไว้ไถ่บ้านไถ่เมืองในอนาคตด้วยการ