อยากวางแผนลงทุนหลัง LTF ครบกำหนด ควรเลือกกองทุนไหนดี
เมื่อพูดถึงการลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ LTF หลายคนอาจนึกถึงสิทธิลดหย่อนภาษีที่ได้รับในอดีต แต่เมื่อ LTF ครบกำหนดระยะเวลาถือครองตามเงื่อนไขแล้ว คำถามสำคัญคือ “เราควรวางแผนลงทุนหลัง LTF ครบกำหนดอย่างไรต่อไป?” ถือโอกาสนี้วางแผนเลยดีมั้ย? ว่าลงทุนกองทุนแบบไหนต่อดี บทความนี้จะพาคุณไปดูกองทุนแนะนำประเภทต่างๆ ว่ามีกองทุนไหนน่าสนใจกันบ้าง
กองทุนสำหรับสายเซฟ รับความเสี่ยงได้ไม่มาก และต้องการกระจายความเสี่ยง
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
ทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการพักเงินในช่วงที่ตลาดการลงทุนมีความผันผวน เพราะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยที่ไม่ต้องสูญเสียเงินต้น และยังได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ มีความเสี่ยงต่ำ และสภาพคล่องสูง ตัวอย่างกองทุน เช่น
LHMM-A กองทุนเปิด แอล เอช ตลาดเงิน ชนิดสะสมมูลค่า
ระดับความเสี่ยง : 2
SCBMONEY(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารตลาดเงิน (ชนิดสะสมมูลค่า)
ระดับความเสี่ยง : 1
KFCASHPLUS กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงินพลัส
ระดับความเสี่ยง : 2
กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
สำหรับคนที่อยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกหน่อย แต่ยังไม่อยากเสี่ยงมาก เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, หุ้นกู้, ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น กองทุนประเภทนี้ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ ถึงแม้ราคาจะมีความผันผวนขึ้นลงตามสภาวะตลาดบ้างก็ตาม ตัวอย่างกองทุน เช่น
K-APB-A(A) กองทุนเปิดเค เอเชีย แปซิฟิก บอนด์-A ชนิดสะสมมูลค่า
ระดับความเสี่ยง : 5
KT-CSBOND-A กองทุนเปิดเคแทม แคปปิตอล ซีเคียวริตี้ ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า
ระดับความเสี่ยง : 5
KKP S-PLUS กองทุนเปิดเคเคพี สมาร์ท พลัส ชนิดทั่วไป
ระดับความเสี่ยง : 4
กองทุนสำหรับสายลดหย่อนภาษี และต้องการวางแผนเกษียณ
กองทุนรวม RMF (Retirement Mutual Fund)
เป็นกองทุนที่สามารถเลือกลงทุนได้ในสินทรัพย์หลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ หรืออสังหาริมทรัพย์ และไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ แต่มีเงื่อนไข คือ ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับกองทุนลดหย่อนภาษีประเภทอื่นๆแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ตัวอย่างกองทุน RMF เช่น
KFINDIARMF กองทุนเปิดกรุงศรีอินเดียอิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ
ระดับความเสี่ยง : 6
KKP INRMF กองทุนเปิดเคเคพี อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ ชนิดทั่วไป
ระดับความเสี่ยง : 4
KFIRMF กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ
ระดับความเสี่ยง : 4
กองทุนรวม ThaiESG (Thailand ESG Fund)
กองทุนลดหย่อนภาษีเงื่อนไขใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวมาในปี 2566 เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวางแผนออมเงินระยะยาว โดยลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ของบริษัทในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจตามเกณฑ์ ESG มีสิทธิลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกิน 30% ของเงินได้และไม่เกิน 300,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน ตัวอย่างกองทุน ThaiESG เช่น
KKP GB THAI ESG กองทุนเปิดเคเคพี พันธบัตรรัฐบาลไทยเพื่อความยั่งยืน
ระดับความเสี่ยง : 3
K-TNZ-THAIESG กองทุนเปิดเค Target Net Zero หุ้นไทย ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน
ระดับความเสี่ยง : 6
ONE-THAIESG กองทุนเปิด วรรณ หุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน
ระดับความเสี่ยง : 6
กองทุนสำหรับสายรับความเสี่ยงได้สูง และต้องการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น
กองทุนรวมต่างประเทศ FIF (Foreign Investment Fund)
หลายคนมองหาโอกาสลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดีและช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในประเทศ แต่การลงทุน FIF มีความซับซ้อนมากกว่าการลงทุนกองทุนในประเทศ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุน ตัวอย่างกองทุน เช่น
KT-ENERGY กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เอ็นเนอร์จี ฟันด์
ระดับความเสี่ยง : 7
KT-INDIA-A กองทุนเปิดเคแทม อินเดีย อิควิตี้ ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า
ระดับความเสี่ยง : 6
SCBGINR กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอลอินคัม ชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ
ระดับความเสี่ยง : 5
ถ้า LTF ของคุณครบกำหนดปีนี้ อย่าลืมมาวางแผนการลงทุนต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากขึ้น และอย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ความเสี่ยง และผลตอบแทนก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงควรวางแผนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตัวเองด้วย
*ข้อมูลกองทุนแนะนำจาก Top Charts ณ วันที่ 15/12/2567
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่