อ่าน Fund Fact Sheet สักนิดเพื่อเป็นทริคในการซื้อกองทุนรวม
เคยไหมอยากซื้อกองทุนแต่ไม่อยากอ่าน Fund Fact Sheet หรือคนอื่นบอกว่าดีก็เลือกซื้อโดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดของกองทุน ด้วยข้อความและเนื้อหาใน Fund Fact Sheet ที่มีรายละเอียด 3- 5 หน้า ทำให้บางคนจับจุดสำคัญไม่ถูกหรือเลือกที่จะไม่อ่าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Fund Fact Sheet มีรายละเอียดที่สำคัญมากมายที่นักลงทุนต้องรู้ ฉะนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดของ Fund Fact Sheet ให้เข้าใจก่อนการตัดสินใจลงทุน
Fund Fact Sheet คืออะไร
Fund Fact Sheet หรือที่เรียกกันว่าหนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดของกองทุนรวม เพื่อให้เราได้ทำความเข้าใจ และศึกษารายละเอียดสำคัญๆ ก่อนการตัดสินใจลงทุน ในFund Fact Sheet มีทั้ง ประเภทกองทุน, นโยบายการลงทุน, ลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทน, ทรัพย์สินที่ลงทุน 5 อันดับแรก, ผลการดำเนินงานย้อนหลัง และ ค่าธรรมเนียม เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น WealthMagik ขอยกตัวอย่าง Fund Fact Sheet ของกองทุน KFGBRAND-A มาประกอบการอธิบาย
สรุป 5 ข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องรู้จาก Fund fact Sheet
ประเภทกองทุนและนโยบายการลงทุน
ศึกษาว่าเป็นกองทุนประเภทไหน เช่นกองทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนตราสารทุน(หุ้น) เป็นต้น และกองทุนมีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์อะไร ใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนเป็นแบบ Active(เชิงรุก) หรือ Passive (เชิงรับ)
ลักษณะความเสี่ยงและความผันผวนของกองทุน
ความเสี่ยงของกองทุนรวมมี ทั้งหมด 8 ระดับ เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการความเสี่ยงอยู่ในระดับใด แต่ก่อนที่จะเลือกความเสี่ยงนั้น เราควรทำแบบทดสอบก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นการประเมินตัวเองว่ากองทุนที่เราสนใจเหมาะสำหรับเราไหม จากนั้นเราควรดูความสามารถในการควบคุมความเสี่ยงของผู้จัดการกองทุนประกอบด้วย เช่น Maximum Drawdown ซึ่งจะบอกถึงอัตราการขาดทุนสูงสุดในอดีตของกองทุนว่าเคยขาดทุนสูงสุดเท่าไหร่ Recovering Period ซึ่งจะบอกระยะเวลาฟื้นตัวของกองทุนตั้งแต่ขาดทุนสูงสุดจนถึงระยะเวลาที่ฟื้นตัวกลับมาที่เงินทุนเริ่มต้น และ Tracking Error ว่ากองทุนสามารถลงทุนใกล้เคียงดัชนีวัดมากน้อยแค่ไหน เพื่อประกอบการตัดสินใจ
Top 5 Holdings (ทรัพย์สินที่ลงทุน 5 อันดับแรก)
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ดูผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือน 6เดือน 1 ปี 5ปี 10ปี หรือเริ่มตั้งแต่จัดตั้งกองทุน และเปรียบเทียบว่ากองทุนมีผลตอบแทนที่สม่ำเสมอหรือว่าเหวี่ยงเกินไปหรือไม่ และนำผลการดำเนินงานย้อนหลังมาเปรียบเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) ด้วย เพื่อดูความสามารถของผู้จัดการกองทุนว่าสามารถทำได้สูงหรือต่ำกว่า Benchmark เพื่อให้เห็นภาพผลตอบแทนของกองทุนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการซื้อขาย
โดยปกติค่าธรรมเนียมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากกองทุน(NAV) และค่าธรรมเนียมที่เก็บจากนักลงทุนโดยตรง เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย(Front-end-fee) หรือ ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน(Back-end-fee) เป็นต้น เพื่อจะได้รู้ว่าเงินที่นักลงทุนนำไปซื้อหน่วยลงทุนมีการเก็บค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ และนำไปเปรียบเทียบกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อจะได้เป็นการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่