Thailand Web Stat

งบการเงิน ตัวช่วยบริหารเงินที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องรู้!

งบการเงิน
หากพูดถึงงบการเงิน หลายคนมักเข้าใจว่าเป็นเรื่องไกลตัวและยุ่งยาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะองค์ประกอบของงบการเงินมีความซับซ้อน ทั้งยังมีตัวเลขมากมายทำให้อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงความหมายอะไรกันแน่? ทั้งที่ความจริงแล้วงบการเงินมีประโยชน์มากกว่าที่คิด ในบทความนี้เราจึงชวนทุกคนมาหัดอ่านงบการเงินไปพร้อมกัน แม้เป็นมือใหม่ก็เข้าใจมากขึ้นแน่นอน!

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “งบการเงิน” สำหรับเจ้าของธุรกิจ

ก่อนไปศึกษาว่างบการเงินมีทั้งหมดกี่องค์ประกอบ อันดับแรกควรทำความเข้าใจว่างบการเงินมีประโยชน์อย่างไร และรายงานความเห็นของผู้สอบบัญชีคืออะไร ทำไมเราถึงควรรู้?

งบการเงิน เหมาะกับใครบ้าง

  1. เจ้าของกิจการ
แม้ว่าเจ้าของกิจการจะเห็นภาพรวมของธุรกิจอยู่แล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อมูลบางอย่างเจ้าของกิจการอาจมองข้ามไป เช่น รายละเอียดของลูกหนี้การค้า และเจ้าหนี้การค้า ซึ่งงบการเงินจะทำให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น

2. นักลงทุน

นักลงทุนเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการมาก่อน ทำให้ไม่ทราบว่ากิจการนั้นดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไร แต่เมื่อดูงบการเงินแล้ว ก็จะเข้าใจธุรกิจและตัดสินใจลงทุนง่ายขึ้น

3. สถาบันการเงิน

เมื่อจัดทำงบการเงินประจำปีเรียบร้อย เจ้าของกิจการสามารถนำงบการเงินไปยื่นขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินได้ ซึ่งจะช่วยให้สถาบันทางการเงินพิจารณาการปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของงบการเงินที่คุณอาจมองข้าม

1. ทราบข้อมูลลูกหนี้การค้า

ข้อมูลในงบการเงินทำให้ผู้บริหารธุรกิจทราบว่า ลูกหนี้การค้าที่ยังไม่ชำระเงินมีจำนวนทั้งสิ้นเท่าไหร่ ทำให้ติดตามหนี้การค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งหากไม่ได้ทำงบการเงินก็อาจไม่เห็นรายละเอียดหนี้การค้าทั้งหมด ทำให้ลืมติดตามหนี้บางรายการได้

2. ช่วยวางแผนบริหารรายได้

บางกิจการไม่สามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น ธุรกิจโรงแรมที่จะมีรายได้เข้ามาจำนวนมากในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 4 เพราะเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว ในขณะที่ไตรมาส 2-3 มักขาดทุน เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา การจัดทำงบการเงินจะทำให้สามารถวางแผนลดความเสี่ยงด้านรายได้ดีขึ้น

รายงานความเห็นของผู้สอบบัญชี คืออะไร จำเป็นแค่ไหนก่อนอ่านงบการเงิน

เมื่อบริษัทจัดทำงบการเงินเสร็จแล้ว ก่อนที่จะทำการเผยแพร่งบการเงินสู่สาธารณะ จำเป็นต้องนำงบการเงินไปให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบเสร็จสิ้น ก็จะแสดงความเห็นเอาไว้เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือ โดยผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นเอาไว้ 4 รูปแบบ ได้แก่

1. รายงานที่ไม่แสดงความเห็น

ถ้าคุณอ่านงบการเงินแล้วผู้สอบบัญชีไม่ให้ความเห็น แสดงให้เห็นว่ารายงานฉบับนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอ เพราะไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่ทางบริษัทให้มามีความถูกต้องจริงหรือไม่ และอาจมีความผิดปกติหลายรายการ จึงควรระวังงบการเงินฉบับนั้นให้ดี

2. รายงานที่ให้ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง

หากผู้สอบบัญชีให้ความเห็นลักษณะดังกล่าว แสดงว่ามีรายการที่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้องของงบการเงินโดยรวม ทำให้งบการเงินดังกล่าวไม่เหมาะแก่การนำไปใช้งาน

3. รายงานที่ให้ความเห็นแบบมีเงื่อนไข

เป็นรายงานที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง เพียงแต่บางรายการผู้สอบบัญชีอาจได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งความผิดพลาดบางรายการนั้น ไม่ส่งผลต่อสาระสำคัญโดยรวมของงบการเงิน

4. รายงานที่ให้ความเห็นแบบไร้เงื่อนไข

เป็นงบการเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะไม่มีการทำธุรกรรมอะไรที่ขัดต่อหลักการบัญชี แต่ผู้ใช้งบการเงินก็ควรอ่านรายงานด้วยความระมัดระวัง

5 ส่วนประกอบของงบการเงิน ที่เจ้าของกิจการควรรู้

จากข้อควรรู้ข้างต้น คงทราบกันไปแล้วว่างบการเงินมีประโยชน์อย่างไร และเหมาะกับใครบ้าง ต่อมาก็ถึงเวลาศึกษาองค์ประกอบของงบการเงินทั้ง 5 ส่วนดังต่อไปนี้

1. งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสด แสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นกิจการมีเงินสดเข้าหรือออกจำนวนเท่าไหร่ หากกิจการจ่ายเงินสดออกไปมาก ไม่มีเงินรับเข้ามาเลย ก็แสดงให้เห็นว่าอาจมีการเพิ่มทุน หรือกู้ยืมเพิ่มเติมได้ในอนาคต ส่วนกิจการที่มีเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามามาก ย่อมหมายความว่ามีสุขภาพทางการเงินดีกว่ากิจการที่มีแต่เงินออก เพราะกู้ยืมหรือขายสินทรัพย์ออกไป

2. งบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน

งบแสดงฐานะทางการเงิน ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่ากิจการที่คุณทำธุรกิจอยู่มีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไรผ่านสมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ หากกิจการใดมีหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ ย่อมแสดงให้เห็นว่าธุรกิจนั้นมีการกู้ยืมเงินมาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสล้มละลายสูงกว่ากิจการที่มีหนี้สินต่อทุนต่ำ
แต่หากกิจการใดที่มีส่วนของเจ้าของมากกว่าหนี้สิน ย่อมแสดงให้เห็นว่ากิจการนั้นมีความมั่นคง เสี่ยงล้มละลายน้อยในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยการสูญเสียโอกาสในการลงทุนผ่านการกู้หนี้เพื่อขยายกิจการเพิ่มเติม

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่าในช่วงที่ผ่านมาส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ หากส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ก็แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ขายหุ้นเพิ่มทุน หรือมีการแปลง Warrant ซึ่งปกติแล้วกิจการที่ดีนั้น งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนผู้ถือหุ้นจะไม่เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง และได้เงินปันผลน้อยกว่าเดิมตามมา

4. งบกำไรขาดทุน

หากต้องการทราบว่ากิจการมีกำไรหรือขาดทุนจากสาเหตุใด สามารถศึกษาได้จากงบกำไรขาดทุน เพราะงบการเงินดังกล่าวนอกจากจะระบุว่า บริษัททำกำไรในแต่ละไตรมาสได้เท่าไหร่แล้ว ยังบอกข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจในการวางแผนธุรกิจด้วย เช่น หากสังเกตว่ารายจ่ายภาษีสูงเกินไป เจ้าของกิจการอาจหาทางลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค หรือจ้างแรงงานผู้สูงอายุ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม

5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หากอ่านงบการเงินไม่เข้าใจว่าธุรกิจที่คุณสนใจลงทุนมีรายได้มาจากช่องทางใดบ้าง ก็แนะนำให้อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งนอกจากจะระบุแหล่งที่มาของรายได้แล้ว ยังบอกข้อมูลจำเป็นต่างๆ ที่ผู้ใช้งบการเงินควรทราบด้วย เช่น อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร การปล่อยกู้ให้บริษัทย่อยในเครือ และระยะเวลาการจ่ายหนี้ของลูกหนี้การค้า

รู้จักกับ MAKE by KBank ผู้ช่วยจัดทำงบการเงินของกิจการยุคใหม่

อ่านงบการเงิน
หากต้องการจัดทำงบการเงินในส่วนของงบกำไร-ขาดทุนด้วยตนเอง แต่ไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม แนะนำให้ใช้งานแอป MAKE by KBank แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้คุณจัดทำงบการเงินได้ง่ายๆ ผ่านปลายนิ้วสัมผัส ด้วย 2 ฟีเจอร์ยอดฮิตอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary

1. Cloud Pocket

หากเจ้าของกิจการประสบปัญหาแบ่งเงินไม่เป็นสัดส่วน ไม่รู้ว่าจะนำเงินไปใช้จ่ายกับรายการไหนกันแน่ เพียงแค่เปิดฟีเจอร์ Cloud Pocket ขึ้นมา ก็จะทำให้คุณสร้างกระเป๋าเงินที่ทำหน้าที่แบ่งเงินได้อย่างเป็นระบบ ผ่านการตั้งชื่อต่างๆ ตามใจคุณได้เลย เช่น กระเป๋าค่าจ้างพนักงาน กระเป๋าค่าเช่าสถานที่ หรือกระเป๋าค่าตกแต่งร้าน เป็นต้น

2. Expense Summary

เมื่อตั้งชื่อกระเป๋าเงินเสร็จแล้ว และต้องการดูข้อมูลสรุปว่าใช้จ่ายเงินกับกระเป๋าใดมากที่สุด เพียงเข้าไปที่ฟีเจอร์ Expense Summary ฟีเจอร์นี้จะสรุปทุกข้อมูลการใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะใช้เงินเยอะขนาดไหน Expense Summary ก็สรุปไว้ทั้งหมด แถมแยกรายการใช้จ่ายเอาไว้แล้วอย่างชัดเจน ทำให้จัดทำงบการเงินได้ง่ายๆ

งบการเงิน ตัวช่วยวางแผนธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกคนควรเข้าใจ

งบการเงินเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เจ้าของกิจการและนักลงทุนทราบว่า ธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่มีสถานะเป็นเช่นไร เพราะหากคุณมองแค่ตัวเลขกำไรขาดทุนก็อาจไม่เห็นภาพรวมของกิจการ แต่งบการเงินจะแสดงข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการวางแผนกิจการในอนาคตได้ชัดเจนมากกว่าเดิม
เจ้าของธุรกิจคนไหนกำลังมองหาผู้ช่วยจัดทำงบการเงินขนาดย่อม ไม่ควรพลาดกับแอป “MAKE by KBank” ที่มาพร้อม Cloud Pocket และ Expense Summary ฟีเจอร์ดีๆ ที่จะทำให้คุณจัดการงบการเงินด้วยตนเองได้ง่ายๆ ยิ่งไปกว่านั้น! เพียงแค่ฝากเงินเข้าแอปพลิเคชันยังได้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปีอีกด้วย