รายการลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง สรุปมาให้แล้ว!
ใกล้ถึงฤดูยื่นภาษีอีกครั้งแล้ว! หลายคนคงกำลังมองหาวิธีที่จะทำให้ภาษีที่ต้องจ่ายน้อยลง การวางแผนลดหย่อนภาษีให้ถูกต้องเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี 2567 เพื่อให้คุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ WealthMagik ได้ทำโพยสรุปแบบเข้าใจง่ายมาให้ครับ มาดูกันเลย
กลุ่มส่วนตัว และครอบครัว
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท สำหรับผู้มีเงินได้ทุกคน
- ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรส 60,000 บาท โดยที่คู่สมรสต้องไม่มีรายได้
- ค่าลดหย่อนสำหรับบุตร คนละ 30,000 บาท โดยที่บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับอุปการะบิดา มารดา คนละ 30,000 บาท โดยที่บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และมีอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ค่าลดหย่อนสำหรับอุปการะผู้พิการ ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยที่ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
กลุ่มประกัน
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
หักค่าลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์มารวมกัน จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท - ค่าลดหย่อนสำหรับประกันสังคม มาตรา ม.33 หักได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่รายได้สามารถหักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
- ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และไม่มีเงื่อนไขที่อายุของบิดามารดาต้องครบ 60 ปีขึ้นไป
กลุ่มบริจาค
- ค่าลดหย่อนสำหรับบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- ค่าลดหย่อนสำหรับการบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
- โครงการช้อปดีมีคืนสามารถนำ Easy E-Receipt มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 15 กุมภาพันธ์ 2567
กลุ่มเงินออมและการลงทุน
- ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
ส่วนที่เมื่อรวมกันต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ ได้แก่
- ค่าลดหย่อนประกันบำนาญ ไม่เกิน 200,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับกองทุนครู (โรงเรียนเอกชน) ไม่เกิน 500,000 บาท
ส่วนที่เมื่อรวมกันต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้
- ค่าลดหย่อนสำหรับลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ไม่เกิน 200,000 บาท
เมื่อรวมค่าลดหย่อนของกองทุนเพื่อเกษียณอายุ และประกันบำนาญแล้ว รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับลงทุนในธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับกองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยวงเงินลงทุนของ Thai ESG จะไม่ถูกนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
- ค่าลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
รู้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งหมดไปแล้ว อย่าลืมคำนวณภาษี และวางแผนให้ดีก่อนยื่นภาษีจริง เพื่อประหยัดภาษีให้คุ้มที่สุด แน่นอนว่าการวางแผนภาษีไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำก่อนยื่นภาษีเท่านั้น แต่สามารถทำได้ตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากเงื่อนไขต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพราะฉะนั้นควรติดตามข้อมูล เพื่อให้คุณไม่พลาดเงื่อนไข และสามารถวางแผนภาษีได้อย่างรอบคอบที่สุด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว
โทร 02 – 437 – 1588
Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่