SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 18 เมษายน 2567
🟣Morning Update by SCBAM
📊 Major Equity Indices: S&P500-0.58%, NASDAQ-1.15%, Russell2000-0.99%
STOXX600+0.06%, Nikkei225-1.32%, HSCEI+0.10%, CSI300+1.55%, KOSPI-0.98%, SET-2.11%, VNINDEX-1.86%, TH Reits-0.68%, SG Reits-1.35%
📊 Sector Return: Utilities-XLU(+2.09%), Consumer Staples-XLP(+0.37%), Financial-XLF(+0.25%), Consumer Discretionary-XLY(-0.49%), Real Estate-XLRE(-0.83%), Technology-XLK(-1.44%)
📊 USBY2Y 4.93%, USBY10Y 4.59%, WTI $82.69/bbl, Gold $2,361.02/oz, DXY 105.95
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงต่อนำโดยกลุ่ม semiconductor หลัง ASML รายงานงบออกมาผสมผสานมีทั้งดีและแย่กว่าคาด ส่ง sentiment ลบกระทบกลุ่ม semi ในสหรัฐฯ ขณะที่ US Bond Yield ที่เริ่มกลับมาชะลอตัวลงช่วยหนุนกลุ่ม Utilities ปรับบวกโดดเด่นสวนทางดัชนีรวม
📰 งบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ทยอยรายงานตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่าง Goldman Sachs, Charles Schwab, Morgan Stanley, Bank of America, Bank of NY Mellon ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดทั้งรายได้และกำไร
⏭️ งบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่สหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดช่วยหนุนมุมมองบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสมมุติฐานหลักของเราที่ว่าแนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่งจะเป็นแรงหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ติดตามการรายงานงบกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นต่อไปโดยเฉพาะกลุ่ม Big Tech ที่จะเริ่มทยอยรายงานในช่วงปลายเดือนนี้
📰 ดัชนีเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนมี.ค. ออกมาตามคาดและชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหากเทียบเป็นรายปี ทั้งเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) (2.4% vs 2.4% vs 2.6%YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) (2.9% vs 2.9% vs 3.1%YoY)
📰 หากเทียบเป็นรายเดือนแม้ออกมาตามคาดแต่เห็นการเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) (0.8% vs 0.8% vs 0.6%MoM) และเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) (1.1% vs 1.1% vs 0.7%MoM)
⏭️ รายงานเงินเฟ้อที่ออกมาผสมผสานประกอบกับโอกาสที่ Fed จะเลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไป อาจกดดันผู้กำหนดนโยบายฝั่งยูโรโซนให้ต้องกลับมาทบทวนอีกครั้งว่าจะเริ่มกลับทิศนโยบายในช่วงกลางปีตามเดิมหรือไม่
📰 ASML รายงานยอดขายต่ำคาดแต่กำไรดีกว่าคาด ทั้งนี้ Guidance จากทางบริษัทยังมีมุมมองเชิงบวก สำหรับปีนี้ซึ่งถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านของบริษัท คาดว่ารายได้ทั้งปีนี้จะใกล้เคียงกับปีก่อน โดยครึ่งปีหลังจะเติบโตแข็งแกร่งกว่าครึ่งปีแรกสอดคล้องกับอุตสาหกรรมโดยรวมที่ฟื้นตัวและจะกลับมาเติบโตแข็งแกร่งในปี 2025 ส่วนอุปสรรคสำคัญคือมาตรการจำกัดการส่งออกของสหรัฐฯ ให้แก่จีนทำให้ลดโอกาสในการขายเครื่อง EUV เพิ่มเติม
⏭️ รายงานดังกล่าวถือว่าค่อนข้างผสมผสานมีทั้งบวกและลบซึ่งอาจกดดันต่อราคาหุ้นระยะสั้น แต่สำหรับแนวโน้มการเติบโตระยะกลาง-ยาวยังดูดีจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม semiconductor โดยรวมและความต้องการด้าน AI ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง
📰 LVMH รายงานงบ 1Q24 ยอดขายรวมขยายตัว +3%YoY ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย โดยมียอดขายเติบโตสูงในญี่ปุ่น (+32%) แต่หดตัวในภูมิภาคเอเชียโดยรวม (-6%) ส่วนสหรัฐฯและยุโรปค่อนข้างทรงตัว โดยกลุ่มธุรกิจที่ทำได้ดีได้แก่
กลุ่ม Fashion & Leather Goods (+2%YoY), กลุ่ม Perfumes & Cosmetics (+7%YoY) และกลุ่ม Selective Retailing โดยเฉพาะ Sephora (+11%YoY) ที่เติบโตจากการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ทำได้ไม่ดีนักได้แก่กลุ่ม Wines & Spirits (-12%YoY) และกลุ่ม Watches & Jewelry (-2%YoY) สำหรับความเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบต่อรายได้บริษัทในอนาคตได้แก่ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์
⏭️ รายงานงบโดยรวมของ LVMH มีทั้งจุดบวกลบสลับกันไป แต่บริษัทก็ยังมีความมั่นใจในการเติบโตของธุรกิจระยะยาว ผ่านการพัฒนาแบรนด์และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกระจายความเสี่ยงในแง่ประเภทของธุรกิจและภูมิศาสตร์
📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ตาม sentiment ลบจากฝั่งสหรัฐฯ และดัชนี Dollar ที่แข็งค่า
📰 ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลงแรง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านบาร์เรล มากกว่าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.6 ล้านบาร์เรล
🔰Outlook & Implication
✅ ระยะสั้น ความผันผวนของตลาดหุ้นโลกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง, การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Bond Yield สหรัฐฯ , แรงขายทำกำไรเนื่องจากตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีก่อน เป็นต้น ในเชิงกลยุทธ์ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้จำกัด อาจพักเงินในกองทุน Money Market (SCBMONEY), ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFFPLUS), ตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้ผลบวกจากการแข็งค่าของ USD (SCBFST) ส่วนหุ้นต่างประเทศ เน้นกองทุนที่มีความผันผวนต่ำ (SCBLEQ) คาดมีโอกาสปรับตัวลงในระดับที่น้อยกว่าตลาดหุ้นโลกโดยรวม นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ (SCBGOLD) และน้ำมัน (SCBOIL) ก็เป็นทางเลือกที่ช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งนี้ เนื่องจากราคาทองคำ ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างเร็วในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น หากสถานการณ์พลิกกลับ ก็อาจทำให้ราคามีความผันผวนได้เช่นกัน
✅ ระยะกลาง-ยาว เราเชื่อว่า หลังผ่านพ้นช่วงของความผันผวนและการปรับฐานในระยะสั้น ตลาดหุ้นโลกยังมีโอกาสฟื้นตัวได้ ดังนั้น สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจรอจังหวะเพื่อเข้าทยอยสะสม ตามธีมการลงทุนหลักของเราในปีนี้ ทั้ง AI Spreading, Asia in Focus และ Attractive Yield Play
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก