SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 14 กันยายน 2566
📍Market update📍
📊 Major Equity Indices: S&P500+0.12%, NASDAQ+0.29%,STOXX600-0.32%, Nikkei225-0.21%, HSCEI-0.39%, CSI300-0.64%, KOSPI-0.07%, NIFTY50+0.38%, SET-0.66%, VNINDEX-0.57%
📊 Sector Return: Utilities-XLU(+1.20%), Consumer Discretionary-XLY(+0.79%),Communication Services-XLC(+0.33%), Energy-XLE(-0.75%), Real Estate-XLRE(-1.01%)
📊 USBY2Y 4.97%, USBY10Y 4.25%, WTI $88.52/bbl, Gold $1,908.12/oz, DXY 104.77
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังรายงานเงินเฟ้อทั่วไปออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้นักลงทุนต้องกลับมากังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ
📰 รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ (CPI) เดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปีออกมาสูงกว่าคาดและเดือนก่อนหน้า (3.7% vs 3.6% vs 3.2%YoY) เมื่อเทียบรายเดือนออกมาตามคาดแต่สูงกว่าเดือนก่อนหน้า (0.6% vs 0.6% vs 0.2%MoM) โดยมาจากราคานํ้ามันที่ปรับเพิ่มขึ้นเป็นหลัก
📰 เงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ (Core CPI) เดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปีออกมาตามคาดและตํ่ากว่าเดือนก่อน (4.3% vs 4.3% vs 4.7%YoY) แต่เมื่อเทียบรายเดือนสูงกว่าคาดและเดือนก่อนหน้า (0.3% vs 0.2% vs 0.2%MoM) ซึ่งลดลงจาก Shelter ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง
⏭️ รายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ ข้างต้นถือว่าไม่ได้สูงกว่าคาดอย่างมีนัยยะ โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานเมื่อเทียบรายปีที่ออกมาตามคาดและปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่จากราคานํ้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้นเริ่มสะท้อนในเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ แล้วเช่นกัน ซึ่งหากราคาพลังงานยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงให้เงินเฟ้อกลับมาเร่งตัวในระยะถัดไป ทั้งนี้ FedWatch tool ล่าสุดยังมองดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ระดับ ปัจจุบันที่ 5.25%-5.50% ตลอดทั้งปีและจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. ปีหน้า
📰 บริษัท Apple เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในงานประจำปีทั้ง iPhone 15 และ Apple Watch series 9 บริษัท พยายามนำเสนอ Features ใหม่ๆ ที่นำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ และนำเสนอวัสดุ Titanium มาใช้ในการผลิตตัวโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามหลังเปิดตัวสินค้าใหม่อาจไม่ได้สร้างความตื่นเต้นให้นักลงทุนมากพอ ทำให้ราคาหุ้นกลับปรับตัวร่วงลง
📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ตามเป็น sentiment ลบจากฝั่งสหรัฐฯ วันก่อนหน้า ขณะที่ดัชนี Dollar index ที่ยังแข็งค่าก็เป็นอีกกดดันภูมิภาค
⏭️ BofA Fund Manager Survey ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของ Fund Manager ทั่วโลกในช่วงวันที่ 1-7 เดือนก.ย. ที่ผ่านมาพบสาระสำคัญดังนี้
1) ภาพ Macro: Fund managers ราว 74% มองว่าเศรษฐกิจจะไม่ถดถอย (Soft + No landing) ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า ขณะที่มีราว 21% มองว่าอาจเกิดเศรษฐกิจถดถอย
2) FMS sentiment ซึ่งเป็นการรวมชุดข้อมูลจาก cash position, equity allocation และ economic growth expectations ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนและยังอยู่ในโซนตํ่าสะท้อนความกังวลและยังระมัดระวังในการลงทุนของเหล่าผู้จัดการกองทุน
3) Cash Level: ระดับเงินสดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.8% ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 4.9% แต่ยังไม่ส่งสัญญาณซื้อ (ระดับเงินสดเกิน 5% เป็นสัญญาณซื้อ, ระดับเงินสดตํ่ากว่า 4% เป็นสัญญาณขายของ BofA)
4) Fund managers กลับมา Overweight หุ้นโดยรวม โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ ที่เพิ่ม position มากขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ยังคง Underweight หุ้นโดยรวมเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 20 ปีหลังสุด โดย Eurozone, Energy, Tech และ EM เป็นกลุ่มที่โดน Underweight เยอะสุดเมื่อเทียบค่าเฉลี่ย 20 ปีหลังสุด
5) ความเสี่ยงที่ Fund managers กังวลที่สุดได้แก่ 1) เงินเฟ้อสูงลากยาวทำให้ธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายตึงตัว (40%) 2) ความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศ (14%) 3) ความเสี่ยงเชิงระบบด้าน credit event (13%)
🔰 Outlook & Implication
✅️ ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนระยะกลาง 3 เดือน หลังรายงานงบ 2Q23 ที่ออกมาส่วนใหญ่ดีกว่าคาดและถูกปรับคาดการณ์กำไรขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้ระยะสั้นมีความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นจะผันผวนพักฐานจากสถิติเชิงฤดูกาลแต่เรามองเป็นโอกาสแบ่งไม้ทยอยสะสมลงทุน
✅️ กรอบการลงทุนระยะกลาง 3 เดือน เรามองโอกาสในการทยอยสะสมช่วงตลาดปรับตัวลงในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ และทั่วโลก (SCBNDQ/ SCBDIGI) จากแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัวลง (Disinflation) หนุนวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้จบรอบและ A
✅️ กรอบการลงทุนระยะกลาง 3 เดือน SCBEV กองทุนที่ได้ประโยชน์จากมาตรการสนับสนุน EV รอบใหม่ของจีนและ Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ ที่ยังดำรงอยู่ต่อไปหลังผ่านการเพิ่มเพดานหนี้
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก