Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2566

📍Market update📍

📊 Major Equity Indices: S&P500-0.42%, NASDAQ-0.79%, STOXX600-0.23%, Nikkei225+0.38%, HSCEI-2.18%, CSI300-0.26%, KOSPI-0.26%, NIFTY50-0.13%, SET-0.92%, VNINDEX+0.07%

📊 Sector Return: Healthcare-XLV(+0.77%), Energy-XLE(+0.49%), Technology-XLK(-0.77%), Consumer Discretionary-XLY(-0.80%), Financial-XLF(-0.90%)

📊 USBY2Y 4.75%, USBY10Y 4.02%, WTI $82.92/bbl, Gold $1,925.24/oz, DXY 102.53

📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงทั้ง 3 ดัชนี นำโดยกลุ่ม Financial หลังจากที่ Moody ทำการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารขนาดเล็ก เเละ ขนาดกลางในสหรัฐฯลงกว่า 10 ธนาคาร เเละขึ้น Watch List ในอีกหลายธนาคาร จากความกังวลในเรื่องของ Asset-Liability Managment ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงปัญหาสภาพคล่อง เเละยอดฝากเงินที่ลดลง ด้านตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้นักลงทุนต้องคอยติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการปรับดอกเบี้ยของทาง Fed ในอนาคต

⏭️ ในเเง่ของ Sentiment เบื้องต้นเรามองว่าความกังวลจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงของธนาคารขนาดเล็กเเละขนาดกลาง จะทำให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวน เเต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบ Balance Sheet ระหว่าง ธนาคารขนาดใหญ่ กับ ธนาคารขนาดเล็ก จะเห็นว่า ธนาคารขนาดใหญ่มีการกระจายความเสี่ยง ด้วยความหลากหลาย ของลูกหนี้ เเละ เจ้าหนี้ที่ดีกว่า รวมถึงมีการบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Coverage Ratio) ที่ดีกว่าอีกด้วย ดังนั้นโอกาสที่ธนาคารขนาดใหญ่จะเจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน จนทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบการเงินของสหรัฐฯนั้น ยังคงเป็นไปได้ยาก ถึงเเม้ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตจะถูกกดดันจากเเนวโน้มเเละทิศทางดอกเบี้ยก็ตาม

📰 ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มธนาคาร ภายหลัง นายกรัฐมนตรีอิตาลี ประกาศเก็บภาษีกลุ่มธนาคารเพิ่ม 40% ของกำไรส่วนเกินที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ระดับสูง

📰 ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวบวกลบสลับกัน นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้นโดยมีแรงซื้อ หลังจากดัชนีปรับลงเมื่อสัปดาห์ก่อนจากความไม่ชัดเจนทางนโยบายการเงินของBOJ ในขณะที่เกาหลีใต้ และจีนปรับตัวลง ภายหลังการรายงานตัวเลขส่งออกจีนที่ลดลง เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยนักลงทุนรอติดตามรายงานตัวเงินเฟ้อของจีน ในวันที่ 9 ส.ค.

⏭️ สำหรับตลาดหุ้นเอเชีย โดยเฉพาะเกาหลีใต้เเละไต้หวัน ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นฟื้นตัวเเรง จากกระเเส AI จนระดับมูลค่าเริ่มตึงตัว ดังนั้นนักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในช่วงที่ตลาดกำลังเกิดภาวะ Risk-Off โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเทขายมาตลอดทาง

⏭️ สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ความไม่ชัดเจนทางนโยบายของ BOJ อ้างอิงจากท่าทีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ถ้าหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่มีต่อนโยบายการเงินของทาง BOJ ได้ โดยในปัจจุบัน BOJ มีมาตรการผ่อนคลาย Spread ตัว bond yield ไว้ที่ บวกลบ 1% เเต่จะเข้ามาเเทรกเเซงทันทีหากมีการปรับตัวที่เร็วเกินไป

📰 รายงานตัวเลขนำเข้าเเละส่งออกของจีนเดือน ก.ค. ติดลบ โดยตัวเลขส่งออก ติดลบ 14.5% YoY ทางด้านตัวเลขนำเข้าติดลบ 12.4% YoY เเละมีขนาด Trade Surplus อยู่ที่ $80.6 พันล้าน

⏭️ ตัวเลขนำเข้าเเละส่งออกที่ติดลบ สะท้อนถึงอุปสงค์ในประเทศที่ยังอ่อนเเอ เเละการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัว ประเด็นนี้เองทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงเเรง เนื่องจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในประเทศจีนคือเครื่องกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยิ่งถ้าหากวันนี้ตัวเลขเงินเฟ้อประกาศออกมาลดลง หรือ ต่ำกว่าคาด จะยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนเเอของอุปสงค์อย่างชัดเจน ดังนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากภาครัฐฯ เเละ ภาคการเงินจะยิ่งทวีคูณความจำเป็นเพิ่มมากขึ้น

 

🔰 Outlook & Implication

✅️ ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุน หากตลาดหุ้นปรับย่อตัวลงจาก Profit taking/ Sell on fact หากการรายงานงบส่วนใหญ่ไม่ได้ออกมาต่ำกว่าคาดหรือให้ negative guidance มากจนเกินไป เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ และทั่วโลก (SCBNDQ/ SCBDIGI) จากแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัวลง (Disinflation) หนุนวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้จบรอบและ AI Boom หนุนคาดการณ์กำไรเติบโต

✅️ กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวและมีการเติบโตที่น่าสนใจในระยะกลาง-ยาว 1) SCBTRAVEL กองทุนที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนและช่วง High season การท่องเที่ยวในฝั่งตะวันตกคาดช่วยหนุนการเติบโตเชิงฤดูกาล 2) SCBEV กองทุนที่ได้ประโยชน์จากมาตรการสนับสนุน EV รอบใหม่ของจีนและ Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ ที่ยังดำรงอยู่ต่อไปหลังผ่านการเพิ่มเพดานหนี้

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก