Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2567

🟣Morning Update by SCBAM

📊 Major Equity Indices: S&P500+1.03%, NASDAQ+1.51%, STOXX600+0.99%, Nikkei225-1.23%, HSCEI-1.04%, CSI300-0.60%, KOSPI+0.23%, NIFTY+0.09%, SET+0.12%, VNINDEX+0.45%, TH Reits-0.25%, SG Reits-0.36%

📊 Sector Return: Communication Services-XLC(+1.62%), Technology-XLK(+1.58%), Energy-XLE(+0.85%), Consumer Discretionary-XLY(+0.76%), Health Care-XLV(+0.47%), Financial-XLF(-0.15%), 

📊 USBY2Y 4.50%, USBY10Y 4.08%, WTI $78.93/bbl, Gold $2,159.98/oz, DXY 102.82

📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นแรง แสดงถึงโมเมนตัมที่แข็งแกร่ง โดยถ้อยแถลงของประธาน Fed วันที่สองในสภาคองเกรสและดัชนีเศรษฐกิจที่รายงานออกมาเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดเมื่อคืน

📰 ถ้อยแถลงประธาน Fed ต่อสภาคองเกรสในวันที่สองยังคงมุมมองเดิมว่าจะมีการลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ แต่อาจต้องพิจารณาข้อมูลประกอบ โดยการเริ่มลดดอกเบี้ยอาจไม่ใช่เร็วๆ นี้แต่ก็ไม่ไกลจนเกินไป

📰 Nonfarm Productivity สำหรับ 4Q23 ออกมาดีกว่าคาดและเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า (3.2% vs 3.1% vs 3.2%QoQ) บ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานในการผลิตสินค้าและบริการที่ดีขึ้น ขณะที่ Unit Labor Costs 4Q23 ขยายตัวตํากว่าคาดและไตรมาสก่อนหน้า (0.4% vs 0.7% vs 0.5%QoQ) สะท้อนภาพต้นทุนแรงงานชะลอตัวลง

📰 Initial Jobless Claim ออกมาตามคาดและเท่ากับรอบก่อนที่ระดับ 217k ส่วน Continue Jobless Claim สูงกว่าคาดและรอบก่อน (1,906k vs 1,889k vs 1,898k) โดยรวมถือว่าทรงๆ ไม่ดีไม่แย่ชัดเจน

⏭️ ดัชนีเศรษฐกิจที่รายงานเมื่อคืนถือว่าเป็นปัจจัยบวกเล็กน้อยต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะ Unit Labor Costs ที่ชะลอตัวลง ช่วยหนุนความคาดหวังแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะ ชะลอตัวลงต่อในอนาคต ติดตามตัวเลขฝั่งแรงงานสำคัญต่อในคืนนี้

📰 ธนาคารกลางยุโรปคงดอกเบี้ยตามคาด โดยเป็นการคงดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 4.00%, ดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ระดับ 4.75% และดอกเบี้ย refinance อยู่ระดับ 4.50%

ทั้งนี้ ECB ปรับลดคาดการณ์ GDP 2024 เหลือ 0.6% จากเดิม 0.8% และปรับลดเงินเฟ้อในยูโรโซนปีนี้ลงเหลือ 2.3% จาก 2.7%

⏭️ การที่ ECB ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อของยุโรปลง ถือเป็นสัญญาณดีว่า ECB ใกล้กลับมาดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแล้ว โดยทาง Goldman Sachs คาดว่า ECB จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้ ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกกับตลาดหุ้นยุโรปหลังดัชนีเศรษฐกิจทยอยออกมาดีกว่าคาดสะท้อนความเสี่ยงถดถอยรุนแรงลดลง ประกอบกับนโยบายการเงินที่จะกลับมาผ่อนคลายมากขึ้น ขณะที่ระดับมูลค่าถูกและโมเมนตัมราคาแข็งแกร่ง

📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 1 เดือน นักลงทุนเริ่มกลับมากังวลว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นเริ่มกลับทิศนโยบายการเงินในการประชุมช่วงปลายเดือนนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ หลังจากสหรัฐฯเสนอร่างกฎหมายที่เล็งเป้าไปยังกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพจีน

📰 สรุปผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 4Q23 สำหรับประเทศที่รายงานออกมาเกิน 80% แล้วได้แก่

1) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 และดัชนี NASDAQ100 ส่วนใหญ่ต่างรายงานยอดขายและกำไรดีกว่าคาดและมีการปรับคาดการณ์กำไรขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ดัชนี Russell2000 ส่วนใหญ่รายงานยอดขายและกำไรดีกว่าคาดเช่นกัน แต่ถูกนักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

2) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ดัชนี Nikkei225 ส่วนใหญ่รายงานยอดขายและกำไรดีกว่าคาดเช่นกัน แต่เริ่มถูกนักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรลงบ้าง

3) ตลาดหุ้นอินเดีย ดัชนี NIFTY50 ส่วนใหญ่รายงานยอดขายและกำไรดีกว่าคาดและมีการปรับคาดการณ์กำไรขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

4) ตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ส่วนใหญ่รายงานยอดขาย หรือ กำไรใน 4Q23 ต่ำกว่าคาด และมีการปรับคาดการณ์กำไรลดลงตั้งแต่ต้นปี

⏭️ สำหรับงบ 4Q23 ที่รายงานออกมาสะท้อนภาพผลประกอบการที่แข็งแกร่งต่อเนื่องในสหรัฐฯ, ญี่ปุ่นและอินเดีย ส่วนไทยโดยรวมยังค่อนข้างอ่อนแอและยังรอการฟื้นตัวต่อไป

🔰Outlook & Implication

✅️สำหรับตลาดหุ้นเรามีมุมมองเชิงบวกต่อภาพการลงทุนระยะ 3 เดือนข้างหน้า แต่หลังจบช่วงการประกาศงบ นักลงทุนอาจหันไปให้ความสำคัญต่อปัจจัยมหภาคมากขึ้น ซึ่งอาจสร้างความผันผวนและเพิ่มความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นอาจจะพักฐานระยะสั้น สรุปคำแนะนำ ถือลงทุนต่อและรอจังหวะเข้าลงทุนเพิ่มหากปรับย่อ

✅️ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปัจจุบันยังคงมี Sentiment เชิงบวกจากเเนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโต ภาคแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ความชัดเจนของการปรับลดดอกเบี้ย Fed มีมากขึ้น รวมถึงงบการเงินที่ยังคงทำได้ดีกว่าคาดการณ์ แนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดปรับย่อในกองทุนดัชนีหุ้นสหรัฐฯ SCBS&P500A, SCBNDQ(A) ส่วน Active Fund เเนะนำทยอยสะสมกอง SCBDIGI ที่มีการถือครองที่หลากหลาย ผสมผสานทั้ง Big Tech และหุุ้น Tech ขนาดกลาง-เล็ก อีกทั้งยังเปิดโอกาสในการเติบโตจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เเละการมาของกระเเส AI Spreading อีกด้วย

✅️ สำหรับสินทรัพย์ที่มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มดอกเบี้ยอย่าง Bonds และ REITs เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หลังนักลงทุนเริ่มปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยในปีนี้มาใกล้เคียงกับมุมมองของ Fed แล้วดังนั้นจึงเป็นจังหวะทยอยสะสมหนึ่งในธีมหลักของเรา “Attractive Yield Plays” กองทุนแนะนำ SCBDBOND (กองตราสารหนี้ในประเทศ), SCBINC (กองตราสารหนี้โลก) และ SCBPINA (กอง REITs ไทยและสิงคโปร์)

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก