SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 3 กันยายน 2567
🟣Morning Update by SCBAM
📍Market update📍
📊 Major Equity Indices: STOXX600-0.02%, Nikkei225+0.14%, HSCEI-1.89%, CSI300-1.70%, KOSPI+0.25%, NIFTY50+0.17%, SET-0.40%, TH Reits+0.54%, SG Reits+0.53%
📊 Gold $2,499.51/oz (-0.2%), DXY 101.65
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการ เนื่องในวันแรงงาน ขณะที่นักลงทุนรอติดตามตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯในวันศุกร์นี้ เพื่อประเมินทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมเดือน ก.ย.
📰ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนเดือน ส.ค. ออกมาที่ 45.8 เท่ากับเดือนก่อนหน้า แต่ดีกว่าตลาดคาดที่ 45.6 บ่งชี้ถึงกิจกรรมการผลิตยังอยู่ในโซนหดตัว โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนี และฝรั่งเศส
⏭️ ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนหดตัวต่อเนื่อง สะท้อนเศรษฐกิจโดยภาพรวมยังคงชะลอตัวลง ช่วยหนุน ECB สามารถปรับลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ประกอบกับ Valuation ของตลาดหุ้นที่ไม่แพง น่าจะช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลงของตลาด ทั้งนี้ หาก STOXX600 สามารถยืนเหนือแนวต้านบริเวณ 525-527 จุดได้ต่อเนื่อง จะเป็นโมเมนตัมเชิงบวกต่อตลาดหุ้นยุโรป
📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวบวกลบสลับกันไป โดยตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาค จากความกังวลเศรษฐกิจจีนที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน
📰 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีนเดือนส.ค. (Caixin PMI Manufacturing) ออกมาที่ 50.4 สูงกว่าคาดที่ 50.0 และเดือนก่อนหน้าที่ 49.8 ฟื้นตัวกลับมาอยู่ในโซนขยายตัว จากต้นทุนวัตถุดิบการผลิตที่ลดลง และผู้ผลิตลดราคาขายเพื่อการแข่งขันในตลาด
⏭️ แม้ว่าดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตจะฟื้นกลับมาอยู่ในโซนขยายตัว แต่ยังคงสวนทางกับดัชนี PMI ภาคการผลิตที่รายงานโดย NBS ที่ให้น้ำหนักกับธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งยังคงหดตัว 4 เดือนติดต่อกัน บ่งชี้ถึงภาคการผลิตของจีนยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน เราจึงยังมีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นจีน แม้ว่าระดับราคาจะ Laggard และ Valuation อยู่ในระดับไม่แพง แต่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ ทำให้ตลาดหุ้นจีนอาจจะฟื้นตัวได้ช้า
📰ดัชนี PMI ภาคการผลิตญี่ปุ่นเดือน ส.ค. ปรับตัวขึ้นมาที่ 49.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 49.1 แม้กิจกรรมภาคการผลิตจะยังอยู่ในโซนหดตัวแต่เริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้น สอดคล้องกับการใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทญี่ปุ่นในช่วง 2Q24 ที่ขยายตัว 7.4%YoY สูงกว่าไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 6.8%YoY สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทญี่ปุ่นพยายามกระตุ้นกำลังการผลิต ในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว
⏭️ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นทั้งในภาคการผลิตและบริการ เนื่องจากค่าจ้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของทาง BOJ ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับค่าเงินเยน และตลาดหุ้นญี่ปุ่นในระยะสั้น เราจึงยังคงมุมมองเป็นกลางต่อการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น
🔰Outlook & Implication
✅️ตลาดหุ้นทรงตัวอยู่ได้ แม้ Nvidia จะปรับตัวลงแรงก็ตาม ส่งสัญญาณว่าแนวโน้มการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นน่าจะเริ่มกระจายตัวมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา (Bull Broadening) ทั้งนี้ระยะสั้นจากสถิติเชิงฤดูกาลและขาดปัจจัยหนุนใหม่ ตลาดอาจผันผวนหรือเลือกพักฐานก่อนได้ แต่หากเกิดขึ้นเรามองเป็นโอกาสทยอยสะสมเพิ่มเนื่องจากสมมุติฐานหลัก “Soft Landing” & “Rate Cut Cycle” รวมถึงกระแส Gen AI ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง จะช่วยหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะข้างหน้า
✅️สำหรับธีมหลักของเราในกรอบลงทุนระยะเวลา 3-6 เดือนได้แก่
▶️ SCBDIGI และ SCBROBOA กองทุน Active Fund ที่คัดเลือกกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากกระแส AI ที่เติบโต โดยมีทั้งกลุ่มผู้พัฒนาและโครงสร้างพื้นฐาน (AI Infrastructure) และกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (AI Adopters) แนะนำทยอยสะสมในช่วงตลาดย่อตัว โดยอาจพิจารณาดัชนี Nasdaq ประกอบแนวรับแถว 17,370-17,180 จุด
▶️ SCBNDQ กองทุน Passive Fund ที่อ้างอิงกองทุน Invesco Nasdaq 100 ETF แนะนำทยอยสะสม โดยพิจารณาดัชนี Nasdaq100 แถวแนวรับ 18,800 จุด
▶️SCBSEMI กองทุน Passive Fund อ้างอิงกองทุน SMH UCITS ETF ทยอยสะสม โดยพิจารณา SMH UCITS แถวระดับราคา 39-40 USD
▶️ SCBKEQTG กองทุน Passive Fund อ้างอิงกองทุน MSCI Korea 25/50 ETF ทยอยสะสมโดยพิจารณา iShares MSCI South Korea ETF แถวระดับราคา 65 USD
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก