SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 19 กันยายน 2567
🟣Morning Update by SCBAM
📍Market update📍
📊 Major Equity Indices: S&P500-0.29%, NASDAQ-0.31%, Russell2000+0.04%, STOXX600-0.50%, Nikkei225+0.49%, CSI300+0.37%, NIFTY50-0.16%, SET-0.06%, VNINDEX+0.47%, TH Reits+0.97%, SG Reits-1.35%
📊 Sector Return: Energy-XLE(+0.19%), Communication Services-XLC(-0.08%), Health Care-XLV(-0.17%), Materials-XLB(-0.43%), Utilities-XLU(-0.76%), Technology-XLK(-0.91%)
📊 USBY2Y 3.62%, USBY10Y 3.70%, WTI $70.91/bbl (-0.4%), Gold $2,558.91/oz (-0.4%), DXY 100.93
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงเล็กน้อย แต่ค่อนข้างผันผวนระหว่างวัน นักลงทุนกำลังย่อยผลการประชุม Fed ท่ามกลางความเห็นที่ค่อนข้างแตกต่างในตลาด
📰 สรุปผลการประชุม Fed มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1) ที่ประชุมมีมติลดดอกเบี้ยตามตลาดคาด 50 bps ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายลงมาที่ระดับ 4.75%-5.00% โดยค่า median ของ Fed Dot Plot บ่งชี้ระดับดอกเบี้ยจะลงไปอยู่ที่ 4.4% ในสิ้นปีนี้ (4.25%-4.50%) หรือเท่ากับการลดดอกเบี้ยอีก 50 bps สำหรับการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ (พ.ย. 6-7 กับ ธ.ค. 17-18) ส่วนปีหน้า Dot Plot บ่งชี้การลดอีก 100 bps หรือ ดอกเบี้ยนโยบายจะลงไปอยู่ระดับ 3.4% (3.25%-3.50%) ณ สิ้นปี 2025 และลดอีก 50 bps หรือดอกเบี้ยนโยบายลงไปอยู่ที่ 2.9% (2.75%-3.0%) ณ สิ้นปี 2026
2) สำหรับคาดการณ์ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญของ Fed (Summary of Economic Projection) มีการปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้ลงเล็กน้อยจาก 2.1% เป็น 2.0% แต่สำหรับปี 2025-26 ยังคงที่ 2.0% ตามเดิม ส่วน Unemployment Rate ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นปีนี้จาก 4.0% เป็น 4.4% ปี 2025 จาก 4.2% เป็น 4.4% และปี 2026 จาก 4.1% เป็น 4.3% สะท้อนภาพตลาดแรงงานชะลอตัวลงมากขึ้น ขณะที่มีการปรับลดคาดการณ์ Core PCE ลงจาก 2.8% เป็น 2.6% ในปีนี้และลดลงจาก 2.3% เป็น 2.2% ในปีหน้า โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะถึงเป้าหมายที่ 2% ในปี 2026 ตามเดิม
3) สำหรับ Fed Statement รอบนี้เน้นย้ำถึงตลาดแรงงานชะลอตัวลงมากขึ้น แต่มั่นใจมากขึ้นว่าแนวโน้มเงินเฟ้อกำลังกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้คณะกรรมการมีความตั้งใจอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนการจ้างงานและควบคุมเงินเฟ้อสู่ระดับเป้าหมาย
4) ถ้อยแถลงประธาน Fed แสดงมุมมองต่อการลดดอกเบี้ย 50 bps ว่าเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายสนับสนุนการจ้างงาน เนื่องจากเห็นแนวโน้มการชะลอตัวลงของตลาดแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่คณะกรรมการอดทนรอจนมีความมั่นใจว่าสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายแล้ว แต่ก็ไม่อยากให้ตลาดคิดว่า Fed จะต้องลดดอกเบี้ยในอัตรานี้ต่อไปในระยะข้างหน้าและไม่คิดว่าระดับดอกเบี้ยระยะยาว ณ จุดสมดุล (Neutral Rate) จะกลับไปต่ำเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มเติบโตดีต่อไปและไม่เห็นความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในระยะอันใกล้
⏭️ ผลการประชุมดังกล่าว ถือเป็น การลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี และเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐฯ โดยคาดการณ์ดัชนีเศรษฐกิจของ Fed และท่าทีของประธาน Fed บ่งชี้ว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้ถึง 50 bps เป็นความพยายามป้องกันการชะลอตัวต่อเนื่องในตลาดแรงงานมากกว่าความกังวลเศรษฐกิจถดถอยหรือวิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดการเงินในระยะถัดไป
📰 Microsoft และ BlackRock รวมถึงพันธมิตรจัดตั้งกองทุน Global Artificial Intelligence Infrastructure Partnership (GAIIP) เพื่อลงทุนพัฒนา AI Data Centers และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเพื่อรองรับการประมวลด้าน AI โดยตั้งใจระดมเงินทุนตั้งต้นที่ 3 หมื่นล้านเหรียญฯ และตั้งเป้าจะให้ถึง 1 แสนล้านเหรียญฯ ในอนาคต
⏭️ ข่าวดังกล่าวตอกย้ำความต้องการลงทุนด้าน AI ว่ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งหากกองทุนดังกล่าวสำเร็จตามแผนก็จะมีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเติม เสริมจากกลุ่ม Hyperscalers ที่มีแผนลงทุนใน AI Infrastructures อย่างต่อเนื่องอยู่ก่อนแล้ว ถือเป็นข่าวบวกเพิ่มเติมต่อกลุ่มหุ้น AI Infrastructures
📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวบวกลบสลับกันไป ไร้ทิศทางชัดเจน หลังนักลงทุนรอผลการประชุม Fed
🔰 Outlook & Implication
📈 ผลการประชุม Fed ถือว่าออกมาในโทนผ่อนคลายค่อนข้างมากและยังคาดการณ์เศรษฐกิจใกล้เคียงรอบก่อน อย่างไรก็ตามนักลงทุนบางส่วนอาจยังไม่มั่นใจและถือว่าการลดดอกเบี้ยครั้งแรกแรงแบบนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตหรือไม่ ดังนั้นดัชนีเศรษฐกิจสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะตลาดแรงงานเป็นสิ่งที่ต้องติดตามและเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาดระยะข้างหน้า
⏭️ สำหรับมุมมองของเรายังคาดว่าเศรษฐกิจจะไม่ถดถอย (Soft Landing) ขณะที่กระแส Gen AI ช่วยเพิ่มการลงทุนและ Productivity แก่บริษัทต่างๆ ซึ่งจะหนุนอัตรากำไรดีมากขึ้นในระยะข้างหน้า
✅️ สำหรับธีมหลักในการลงทุนระยะ 3 เดือนข้างหน้า เราเน้นกลุ่มหุ้นโลกที่ผันผวนต่ำและคุณภาพสูง ที่คาดว่าจะสามารถทนทานได้ดีกับความผันผวนที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากสถิติเชิงฤดูกาลในเดือนก.ย.-ต.ค โดยเฉพาะในปีที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่สหรัฐฯ
▷ กองทุนแนะนำ SCBGQUAL (กองทุนหุ้นโลกคุณภาพสูง) และ SCBLEQA (กองทุนหุ้นโลกที่ผันผวนต่ำ) ซึ่งคาดว่ากองทุนดังกล่าวจะสามารถทนทานได้ดีในช่วงตลาดผันผวน (ลงน้อยกว่าตลาดในช่วงพักฐาน แต่ขึ้นได้ดีใกล้เคียงกันในช่วงตลาดกลับมาฟื้นตัว)
✅️ สำหรับธีม “AI Spreading” เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูง โดยระยะสั้นอาจยังผันผวนสูงต่อไป แนะนำเริ่มหาจังหวะทยอยลดสัดส่วนหรือขายทำกำไรบางส่วน เมื่อราคาหุ้นฟื้นตัวขึ้นมา โดยเน้นเป็นการลงทุนแบบเก็งกำไร (Trading Buy) มากขึ้น
▷ SCBDIGI และ SCBROBOA กองทุน Active Fund ที่คัดเลือกกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากกระแส AI ที่เติบโต โดยมีทั้งกลุ่มผู้พัฒนาและโครงสร้างพื้นฐาน (AI Infrastructure) และกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (AI Adopters) แนะนำ Trading Buy โดยอาจพิจารณาดัชนี Nasdaq ประกอบแนวรับแถว 16,300-16,500 จุด / แนวต้านแถว 17,300-17,500 จุด
▷ SCBNDQ กองทุน Passive Fund ที่อ้างอิงกองทุน Invesco Nasdaq 100 ETF แนะนำTrading Buy โดยพิจารณาดัชนี Nasdaq100 แถวแนวรับ 18,000-18,100 จุด / แนวต้าน 19,200-19,500 จุด
▷ SCBSEMI กองทุน Passive Fund อ้างอิงกองทุน SMH UCITS ETF แนะนำ Trading Buy โดยพิจารณา SMH UCITS แถวระดับราคาแนวรับ 36-37 USD / แนวต้าน 40-41 USD
▷ SCBKEQTG กองทุน Passive Fund อ้างอิงกองทุน MSCI Korea 25/50 ETF แนะนำ Trading Buy โดยพิจารณา iShares MSCI South Korea ETF แถวระดับราคาแนวรับ 58-60 USD / แนวต้าน 64-65 USD
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก