SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567
🟣Morning Update by SCBAM
📍Market update📍
📊 Major Equity Indices: S&P500-1.37%, NASDAQ-1.80%, STOXX600-0.95%, Nikkei225+2.89%, KOSPI+1.12%, NIFTY+0.59%, SET+0.17%, TH Reits-0.49%, SG Reits-0.19%
📊 Sector Return: Health Care-XLV(-0.93%), Energy-XLE(-1.01%), Consumer Staples-XLP(-1.07%), Communication Services-XLC(-1.41%), Technology-XLK(-1.70%), Consumer Discretionary-XLY (-1.99%)
📊 USBY2Y 4.66%, USBY10Y 4.31%, WTI $77.87/bbl, Gold $1,993.15/oz, DXY 104.83
📰ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ ภายหลัง สหรัฐรายงานดัชนีเงินเฟ้อ CPI เดือนม.ค. สูงกว่าคาด หนุนให้ Fed ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดคาดไว้
📰 สหรัฐฯเผย ดัชนี CPI ทั่วไปเดือนม.ค. ปรับตัวขึ้นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดเมื่อเทียบเป็นรายเดือนเเละรายปีที่ระดับ (0.3%MoM vs 0.2%MoM) เเละ (3.1%YoY vs 2.9%YoY) ตามลำดับ
📰 ด้านดัชนี Core CPI เดือนม.ค. ปรับตัวขึ้นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดเมื่อเทียบเป็นรายเดือนเเละรายปีที่ระดับ (0.4%MoM vs 0.3%MoM) เเละ (3.9%YoY vs 3.7%YoY) ตามลำดับ
📰 ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 62.3% ที่ Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนพ.ค. เมื่อเทียบกับที่ให้น้ำหนักเพียง 39.3% เมื่อวานนี้
⏭️ เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาด มองว่าเป็น negative surprise ที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการปรับตัวขึ้นส่วนหนึ่งได้สะท้อนถึงเเนวโน้มของเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง เเละรอบการลดดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ไปเเล้ว เเนะนำรอติดตามการรายงานเงินเฟ้อในเดือนต่อๆไปประกอบ เพื่อดูเเนวโน้มที่ชัดเจนมากกว่านี้ ด้านกลยุทธ์ เรามองว่าการย่อตัวลงของตลาดหุ้นเป็นโอกาสในการทยอยสะสมได้ จากเเนวโน้มเศรษฐกิจที่้ยังคงเเข็งเเกร่ง เเละ ผลประกอบการบริษัทที่ยังคงเติบโตโดดเด่นนั่นเอง
📰 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีเดือนก.พ. ปรับตัวขึ้นสูงกว่าที่คาดที่ระดับ (19.9 vs 17.5) โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีเเรกนี้
📰 ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่น Nikkei 225 ที่ปรับตัวขึ้น 2% กว่า ใกล้เเต่ระดับสูงสุดตลอดการณ์ ด้วยปัจจัยบวกจาก ผลประกอบการไตรมาส 4/66 ที่โดดเด่น เเละค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่อง
⏭️ เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาดของทางสหรัฐฯ ไม่ได้เพียงเเค่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินของ Fed เท่านั้น เเต่ยังจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศอื่นๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวของกระเเสเงินลงทุนอีกด้วย โดยเฉพาะในฝั่งเอเชียที่คาดว่าจะเริ่มเห็นกระเเสเงินต่างชาติไหลออกมากขึ้น เเละอาจทำให้ตลาดหุ้นผันผวนได้ในระยะข้างหน้า สำหรับนักลงทุนที่รอจังหวะสะสมในตลาดหุ้นฝั่งเอเชียที่ปรับตัวขึ้นมาก่อนหน้านี้ เเนะนำใช้โอกาสการย่อตัวนี้ในการทยอยสะสม โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เราเเนะนำ เช่น เวียดนาม เป็นต้น
⏭️ เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาดของทางสหรัฐฯ ส่งผลให้เงินดอลลาร์เเข็งค่าขึ้น เเละเงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่มักจะปรับตัวขึ้นได้ดีในสภาวะดังกล่าว เนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยในระยะสั้นคาดว่าตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงปรับตัวขึ้นได้ต่อ ทำให้ระดับ risk/reward ratio ในปัจจุบันดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่ เเนะนำรอจังหวะย่อเพื่อทยอยสะสม เพราะมุมมองเชิงบวกในระยะกลางถึงยาวยังคงโดดเด่น
🔰 Outlook & Implication
✅️ ปัจจัยมหภาคดูเอื้อต่อการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงหลังความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยลดลงไปมาก ขณะที่การรายงานเงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐฯ ล่าสุดออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อย ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง เรามองเป็นโอกาสทยอยสะสมลงทุน เนื่องจากปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาดหุ้นปีนี้อย่างผลประกอบการยังคงสดใส สนับสนุนการปรับขึ้นของตลาดหุ้นในระยะ 3 เดือนข้างหน้า
✅️ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปัจจุบันยังคงมี Sentiment เชิงบวกจากเเนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโต ภาคแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ความชัดเจนของการปรับลดดอกเบี้ย Fed มีมากขึ้น รวมถึงงบการเงินที่ยังคงทำได้ดีกว่าคาดการณ์ แนะนำกองทุนดัชนีหุ้นสหรัฐฯ SCBS&P500A, SCBNDQ(A) ส่วน Active Fund เเนะนำทยอยสะสมกอง SCBDIGI ที่มีการถือครองที่หลากหลาย ผสมผสานทั้ง Big Tech และหุุ้น Tech ขนาดกลาง-เล็ก อีกทั้งยังเปิดโอกาสในการเติบโตจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เเละการมาของกระเเส AI Spreading อีกด้วย
✅️สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลาง-สูงแนะนำลงทุนกองทุนตราสารหนี้โลก SCBINCA ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากราคาตราสารหนี้ที่มักปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลัง Fed จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น, อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีและสำหรับกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะยามที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มสูงขึ้น
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก