Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 14 มิถุนายน 2566

Market update

📍 Major Equity Indices: S&P500+0.69%,NASDAQ+0.83%,STOXX600+0.55%, Nikkei225+1.80%, HSCEI+0.50%,CSI300+0.53%, KOSPI+0.33%, NIFTY50+0.62%,SET+0.71%, VNINDEX+0.58%

📍 Sector Return: Materials-XLB(+2.32%), Industrial-XLI (+1.16%), Consumer Discretionary-XLY(+1.04%), Utilities-XLU (-0.02%)

📍 USBY2Y 4.67%,USBY10Y 3.81%, WTI $69.42/bbl, Gold $1,943.74/oz, DXY 103.34

📍 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวบวกขึ้นต่อเนื่องหลังรายงานตัวเลขเงินเฟ้อออกมาตํ่ากว่าคาดและชะลอตัวลงจากเดือนก่อน หนุนความคาดหวังแนวโน้มดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุด โดยหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กและหุ้นกลุ่มวัฏจักรกลับมานำตลาดอีกครั้ง

📍 ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ (CPI) เดือนพ.ค. ออกมาตํ่ากว่าคาดและเดือนก่อนหน้า (4.0% vs 4.1% vs 4.9%YoY และ 0.1% vs 0.2% vs 0.4%MoM) ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ออกมาตามคาดและตํ่ากว่าเดือนก่อนหน้า (5.3% vs 5.3% vs 5.5%YoY และ 0.4% vs 0.4% vs 0.4%MoM) โดยราคารถใหม่, รถมือสอง, ที่อยู่อาศัยและค่าเช่าต่างชะลอตัวลงเป็นสัญญาณที่ดี

📍 รายงานข้างต้นบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัวลงต่อเนื่องและช่วยลดแรงกดดันในการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed เพิ่มความคาดหวังต่อทิศทางดอกเบี้ยใกล้ถึงจุดสูงสุด เราคาดว่าจากตัวเลขดังกล่าวจะช่วยหนุน sentiment บวกต่อการลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มหุ้นเติบโตสูงรวมไปถึงกลุ่มหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่เริ่มอ่อนไหวต่อแนวโน้มดอกเบี้ยมากขึ้นหลังเกิดวิกฤติสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ

📍 BofA Fund Manager Survey ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของ Fund Manager ทั่วโลกในช่วงวันที่ 2-8 เดือนมิ.ย. ที่ผ่านมาพบสาระสำคัญดังนี้

1) ภาพ Macro: Fund managers ส่วนใหญ่มากกว่า 50% ของที่สำรวจยังคาดว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 4Q23-1Q24 แต่มี 14% ที่มองว่าจะไม่เกิดเศรษฐกิจถดถอยในอีก 12 เดือนข้างหน้า ขณะที่ความคาดหวังต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนถูกปรับลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีจนเดือนนี้กลับมาอยู่ใกล้เคียงกับความคาดหวังช่วงก่อนเปิดเมืองแล้ว

2) FMS sentiment ซึ่งเป็นการรวมชุดข้อมูลจาก cash position, equity allocation และ economic growth expectations ยังอยู่ในโซนตํ่าใกล้เคียงกับช่วงมีวิกฤติต่างๆในอดีต บ่งชี้ถึงมุมมองของ Fund Manager ส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังต่อการลงทุน

3) Cash Level: ระดับเงินสดปรับตัวลดลงจาก 5.6% ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 5.1% แต่ถือว่ายังอยู่ในโซนสูงและมีโอกาสที่เงินจะยังไหลเข้าสินทรัพย์ทางเงินเพิ่มเติมได้อีก (ระดับเงินสดเกิน 5% เป็นสัญญาณซื้อ, ระดับเงินสดตํ่ากว่า 4% เป็นสัญญาณขายของ BofA)

4) Fund managers ยังคง Underweight หุ้นโดยรวมเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเทียบกับค่าเฉลี่ย 20 ปีหลังสุด แต่เริ่มเข้ามาลงทุนในหุ้น US, Japan มากขึ้นและลดการลงทุนใน EM, Eurozone เมื่อเทียบกับการสำรวจของเดือนก่อนหน้า

5) ความเสี่ยงที่ Fund managers กังวลที่สุดได้แก่ 1) เงินเฟ้อสูงลากยาวทำให้ธนาคารกลางต้องดำเนินนโยบายตึงตัว (36%) 2) วิกฤติสภาพคล่องธนาคารและเศรษฐกิจถดถอย (22%) 3) ความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศ (17%)

📍 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวบวกเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ยังสามารถปรับตัวได้โดดเด่นต่อเนื่อง

📍 ธนาคารกลางจีนประกาศลดดอกเบี้ย reverse repurchase rate ระยะ 7 วันลง  0.10% สู่ระดับ 1.9% เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

📍 รายงานข้างต้นเรามีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน ระดับราคาของทั้งดัชนี H-shares และ A-shares ในปัจจุบันสะท้อนความผิดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของนักลงทุนไปมากแล้ว โดยผลสำรวจล่าสุดของ BofA  Fund Manager Survey ตอกยํ้ามุมมองของเรา ดังนั้นเราจึงยังแนะนำถือลงทุนหุ้นจีนเพื่อรอลุ้นการฟื้นตัวที่คาดว่าจะชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้

🔔Outlook & Implication

📍 ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รายงานตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ออกมาตํ่ากว่าคาด น่าจะช่วยลดโอกาสที่ผลการประชุม Fed ในคืนนี้จะออกมาในโทนตึงตัวกว่าที่นักลงทุนคาด ทำให้ตลาดน่าจะมี sentiment บวกต่อเนื่องในระยะสั้นทยอยสะสมเพิ่มเติมในกลุ่มหุ้นคุณภาพ (SCBGQUAL) และกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี (SCBNDQ/ SCBDIGI) ที่คาดว่าจะ outperform ในสภาวะดอกเบี้ยสูงค้างยาวและเศรษฐกิจอยู่ในช่วงปลายวัฏจักร

📍 ตลาดหุ้นเอเชียเราแนะนำลงทุนหุ้นเกาหลีใต้ผ่านกองทุน SCBKEQTG จากโมเมนตัมราคาที่ดีอยู่แนวโน้มขาขึ้นและ sentiment บวกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ปรับตัวบวกขึ้นต่อเนื่อง

📍 ตลาดนํ้ามันเรายังมีมุมมองแกว่งตัวในกรอบกว้าง รายงานตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดและการลดดอกเบี้ยของจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่างเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของราคานํ้ามัน แนะนำซื้อแถวระดับ $65-70/bbl และขายทำกำไรแถวระดับ $75-80/bbl กองทุน SCBOIL

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บลน.เว็ลธ์ เมจิก