SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2566
🟣Morning Update by SCBAM
📍Market update📍
📊 Major Equity Indices: S&P500+0.39%, NASDAQ+0.20%, STOXX600+0.30%, Nikkei225+1.50%, HSCEI-1.17%, CSI300+0.59%, KOSPI+0.30%, NIFTY+0.13%, VNINDEX+0.09%, SG Reits-0.08%
📊 Sector Return: Consumer Staples-XLP(+0.96%), Industrial-XLI(+0.95%), Technology-XLK(+0.87%), Consumer Discretionary-XLY(+0.27%), Energy-XLE(+0.12%), Communication Services-XLC(-0.77%)
📊 USBY2Y 4.71%, USBY10Y 4.23%, WTI $71.32/bbl, Gold $1,981.95/oz, DXY 104.08
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ปรับตัวบวกขึ้นเล็กน้อย โดยนักลงทุนรอติดตามการรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯในคืนนี้ รวมทั้งผลการประชุมธนาคารกลางต่างๆ ทั้ง Fed, ECB, BOE ในวันพฤหัสฯนี้ ซึ่งจะสะท้อนถึงแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยในปีหน้า และเป็นปัจจัยหลักบ่งชี้ทิศทางตลาดหุ้นในระยะถัดไป
📰 ตัวเลขการคาดการณ์เงินเฟ้อ 1 ปีข้างหน้าของสหรัฐฯ จากการสำรวจของ New York Fed ในเดือนพ.ย. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาที่ 3.36% ต่ำกว่าตลาดคาด และแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนเม.ย. 64
⏭️ รายงานคาดการณ์เงินเฟ้อข้างต้น สะท้อนมุมมองนักลงทุนคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ CME FedWatch Tool คาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยลงถึง 5 ครั้ง หรือ ราว 1.25% ในปีหน้า ซึ่งหากรายงานเงินเฟ้อในคืนนี้ออกมาสูงกว่าคาด หรือ ผลการประชุม Fed ออกมาเข้มงวดมากกว่าที่ตลาดคาด อาจเห็นแรงขายทำกำไรบางส่วนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ หลังจากปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงเดือนที่ผ่านมา
📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นแรง หลังเจ้าหน้าที่ BOJ กล่าวว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมเดือนนี้ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลการเติบโตของค่าจ้างที่เพียงพอที่จะหนุนให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น
📰ดัชนีเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ของจีนเดือนพ.ย. ชะลอลงต่อเนื่องมาที่ -0.50%YoY ตํ่ากว่าคาดและเดือนก่อน (est.-0.20%, prev. -0.20%YoY) ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง -3.0%YoY ตํ่ากว่าคาดและเดือนก่อน (est.-2.8%, prev. -2.6%YoY) สะท้อนสัญญาณเงินฝืดรุนแรงขึ้น
⏭️ ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ที่ชะลอตัวลงและติดลบต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงของจีนปรับตัวสูงขึ้นมาแตะระดับเกือบ 5% (จากการคำนวณของ Bloomberg) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2559 ส่งผลให้คนจีนมีแนวโน้มที่จะออมเงินมากขึ้นและใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะอสังหาฯน้อยลง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจ เราจึงมองว่าทางการจีนน่าจะมีการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศเพิ่มเติม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินฝืดเป็นเวลานาน
🔰Outlook & Implication
✅️ระยะสั้นคาดตลาดอาจพักฐานหรือแกว่งตัวในกรอบ หลังตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาเร็วและแรง แต่เริ่มขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ อย่างไรก็ตามเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อภาพระยะกลาง 1-2 เดือน จากปัจจัยมหภาคเริ่มผ่อนคลายและสถิติในอดีตเชิงฤดูกาลสนับสนุนการฟื้นตัว
✅️สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงปานกลาง-สูงแนะนำลงทุนกองทุนตราสารหนี้โลก SCBINCA ที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากราคาตราสารหนี้ที่มักปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลัง Fed จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น, อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีและสำหรับกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะยามที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า
✅️กลุ่มหุ้นคุณภาพสูงที่คาดว่าจะสามารถทนทานในสภาวะดอกเบี้ยสูงและช่วงปลายวัฏจักรเศรษฐกิจได้ดีกว่าตลาดโดยรวมได้แก่ SCBGQUAL, SCBPGF
✅️ตลาดหุ้นไทยถึงแม้จะปรับตัวลงแย่กว่าภูมิภาคและหุ้นทั่วโลกตลอดทั้งปี แต่กลับมองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมเพื่อลุ้นการฟื้นตัวในปีหน้าจากปัจจัยสนับสนุน 1) ทิศทางหลัง Fed จบรอบดอกเบี้ยขาขึ้นแนวโน้มค่าเงินบาทแข็งค่าและตลาดหุ้นไทยมักฟื้นตัวขึ้นได้ 2) แนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้นจากปีนี้ สวนทางหลายประเทศทั่วโลกที่จะชะลอตัวลง 3) คาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียนที่จะกลับมาขยายตัวขึ้นอีกครั้งในปีหน้า หลังจากปีนี้หดตัวติดลบ 4) ระดับมูลถูกกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 10 ปี น่าสนใจลงทุน
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก