Morning Update by SCBAM (29/1/25)
Market update
Major Equity Indices: S&P500+0.92%, NASDAQ+2.03%, Russell2000+0.21%
STOXX600+0.36%, Nikkei225-1.39%, HSCEI-0.01%, NIFTY+0.56%, SET+0.36%, TH Reits-0.04%, SG Reits+0.94%, Global REITs+1.26%
Sector Return: Technology-XLK(+2.67%), Communication Services-XLC(+0.49%), Consumer Discretionary-XLY(+0.12%), Real Estate-XLRE(-1.22%), Utilities-XLU(-1.38%), Consumer Staples-XLP(-1.56%)
USBY2Y 4.19%, USBY10Y 4.53%, WTI $73.77/bbl (+0.8%), Gold 2,763.51/oz (+0.8%), DXY 107.91
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นนำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี จากแรงซื้อกลับหลังการปรับตัวลงแรงก่อนหน้านี้ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโมเดล DeepSeek ที่ส่งผลต่อการลงทุนใน AI เริ่มลดลง ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงการเพิ่มความหลากหลายในกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงของนักลงทุน
ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 104.1 ในเดือนม.ค. จาก 109.5 ในเดือนธ.ค. และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 105.6
️ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงสะท้อนถึงความกังวลต่อภาวะตลาดแรงงานและสภาพธุรกิจที่อ่อนแอลงต่อเนื่อง ขณะที่แรงกดดันจากเงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อมุมมองของผู้บริโภค นอกจากนี้ ความตึงเครียดด้านการค้าอาจยิ่งซ้ำเติมต้นทุนสินค้าและเงินเฟ้อ ซึ่งอาจกระทบต่อแนวทางนโยบายของ Fed ในอนาคต
ผลประกอบการ 4Q24 ของ LVMH สะท้อนถึงสภาวะตลาดสินค้าหรูที่ท้าทาย โดยยอดขายกลุ่มแฟชั่นและเครื่องหนัง (รวมถึง Louis Vuitton และ Christian Dior) หดตัวลง 1% ขณะที่รายได้รวมเพิ่มขึ้นเพียง 1% และกำไรจากการดำเนินงานลดลง 14% สู่ 1.96 หมื่นล้านยูโร แม้ว่าบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายด้านการตลาดลง 5% เพื่อรักษาผลกำไร อย่างไรก็ตาม กลุ่มนาฬิกาและเครื่องประดับ โดยเฉพาะ Tiffany และ Bulgari ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยยอดขายของ Tiffany ขยายตัว 9% สะท้อนถึงความต้องการสินค้าหรูที่ยังมีเสถียรภาพ แม้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวังในช่วงเทศกาล
️ ผลประกอบการของ LVMH สะท้อนภาพรวมการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดสินค้าหรูที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในกลุ่ม Hard Luxury เช่น เครื่องประดับและนาฬิกา ซึ่งยังคงมีความต้องการสูง แม้ว่ากลุ่ม Soft Luxury อย่างเสื้อผ้าจะเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ความต้องการที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ และยุโรปยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของการเติบโตในอุตสาหกรรม ในขณะที่ความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนอาจส่งผลต่ออุปสงค์ในระยะสั้น อุตสาหกรรมสินค้าหรูยังคงมีศักยภาพเติบโตในระยะยาวจากกลุ่มผู้บริโภคระดับสูงและการขยายตลาดในภูมิภาคที่ยังมีความต้องการเพิ่มขึ้น
ดัชนี Nikkei 225 ปรับลดลง เผชิญแรงขายในกลุ่มเทคโนโลยี หลังนักลงทุนกังวลความต้องการชิป AI ที่อาจลดลง ขณะเดียวกัน หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงแข็งแกร่งจากแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้น หลัง BOJ ปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ก่อน
Outlook & Implication
ระยะสั้นคาดว่าตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีและ Semiconductor เนื่องจาก นักลงทุนกำลังติดตามถึงผลกระทบภายหลังการเปิดตัวโมเดล AI Chatbot ของ DeepSeek จากจีน รวมทั้งติดตามผลการประชุม Fed ในวันที่ 28-29 ม.ค. ซึ่งคาดว่าจะคงดอกเบี้ย และการรายงานงบ 4Q24 ของหุ้นกลุ่ม Big Tech ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ Meta, Tesla, Microsoft (29 ม.ค.) และ Apple (30 ม.ค.)
สำหรับกองทุนแนะนำ หาจังหวะย่อในการทยอยสะสม
SCBS&P500/ SCBNDQA/ SCBDJI/ SCBUSA (Accumulate Buy) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นโลก จากนโยบาย Pro-growth Policies ของ Trump, Policy Normalization ของ Fed และ Productivity & Profit ของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ที่เติบโตดีต่อเนื่อง
SCBRS2000/ SCBUSSM (Accumulate Buy) กลุ่มหุ้นขนาดเล็กสหรัฐฯ คาดฟื้นตัวเด่นจากพื้นฐานที่ดีขึ้นและนโยบายปรับลด Corporate Tax ของ Trump หากเกิดขึ้นจะช่วยหนุนกลุ่มหุ้นขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก